Sunday 15 February 2009

Cybele's Secret by Juliet Marillier (n)

เพราะว่าติดใจกับ Wildwood Dancing พอตัว และเมื่อรู้ว่ามีหนังสือในชุดเดียวกัน ก็เลยอดไม่ได้ที่จะสั่งต่อมา ซึ่งกว่าจะได้หนังสือมาก็ผ่านไปนานโข และอยู่ในช่วงที่กระหน่ำอ่าน Urban Fantasy ที่วิธีการใช้ภาษา การบรรยายความเป็นคนละแนวกัน ประกอบกับราคาหนังสือที่แพงมาก แพงที่สุดเท่าที่เคยซื้อปกอ่อนมา (เกือบจะสองเท่า ฮือฮือ) ก็แทบจะทำให้ทนอ่านไม่ได้ ... แต่พอเริ่มลงมืออ่านก็ติดหนึบตั้งแต่หน้าที่ 20 แล้วก็ถูกดูดเข้าไปตั้งแต่นั้นยันจบ ถ้าคิดว่าชอบ Wildwood Dancing ขอบอกว่าหลงรัก Cybele's Secret เลยก็แล้วกัน!



ชนิด : Young Adult / Fantasy/ Folklore
ชุด : Wildwood Dancing, Book 2
สำนักพิมพ์ : Tor (5 Dec 2008)
จำนวนหน้า : 407 หน้า


รางวัล :
An American Library Association Best Book for Young Adults 2009
Winner of the 2008 Sir Julius Vogel Award for best young adult novel.
Finalist in the 2007 Aurealis Awards.
Finalist in the Western Australian Premier's Book Awards for 2007.


หลังจากที่ Wildwood Dancing พูดถึงเรื่องราวของพี่น้อง 5 คนผ่านทางทางเล่าเรื่องของ Jena พี่สาวคนที่สอง Cybele's Secret เริ่มต้นจาก Paula น้องสาวคนที่สามซึ่งเป็นเด็กขยันเรียน ฉลาด เอาจริงเอาจัง

ผ่านไปหกปีหลังจากเหตุการณ์ในเล่มที่แล้ว Paula ร่วมเดินทางไปกับพ่อจากทรานซิสวาเนียสู่อิสตันบูลเพื่อการค้าขาย และค้นหา Cebele’s Gift เครื่องรางเก่าแก่ที่กล่าวกันว่า มีอำนาจและเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ก่อนละทิ้งโลกมนุษย์ของ Cebele (อ่านว่า kee-beh-leh) เทพีแห่งผืนดินที่กลายเป็นเพียงตำนานเลือนลางในปัจจุบัน

เมื่อไปถึงอิสตันบูล ทั้งคู่ค้นพบว่าเพื่อนและหุ้นส่วนทางการค้าของพ่อที่เป็นคนแจ้งข่าวเกี่ยวกับ Cebele’s Gift เพิ่งถูกฆ่าตาย และแม้ว่าจะมี Stoyan การ์ดหนุ่มตัวโตที่ถูกจ้างมาให้ดูแล Paula คอยระวังหลัง การตามหาเครื่องรางก็เต็มไปด้วยอันตรายและการแข่งขันที่เหนือกว่าที่สองพ่อลูกคิดไว้มาก โดยเฉพาะเมื่อ Other Kingdom กำลังรอที่จะทดสอบ Paula อยู่

และเรื่องราวก็ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อ Paula และ Stoyan มีเหตุให้ต้องร่วมเดินทางไปในเรือของ Duarte โจรสลัดมากไปด้วยปริศนา

แม้ว่า Cybele's Secret จะเป็นหนังสือที่ต่อมาจาก Wildwood Dancing แต่เหตุการณ์ที่เกิดในเล่มก็เป็นเอกเทศจากกันมาก เป็นบทละครคนละบทที่เล่าผ่านตัวละครที่แตกต่างกัน จนเรียกได้ว่าสามารถเป็น standalone ได้เลย อย่างไรก็ตาม วิธีการบรรยาย การพรรณนาจนผู้อ่านเห็นภาพและเกิดจินตนาการตามนั้น ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่หนังสือทั้งสองเล่มคงความเชื่อมโยงกันอยู่ และก็ถือเป็นเสน่ห์หลักอย่างหนึ่งของชุดด้วย (ทั้งนี้ ต้องสารภาพว่าไม่เคยอ่านเรื่องอื่น ๆ ของ Juliet Marillier แต่รู้สึกว่าวิธีเขียนและเล่าเรื่องของเธอทำให้นึกถึง Patricia A. McKillip แม้ว่าฝ่ายหลังจะมีวิธีเล่นกับจินตนาการและความเป็นไปได้ รวมไปถึงความรู้สึกกึ่งจริงกึ่งฝันมากกว่าก็ตาม)

เนื่องจากเล่มนี้เป็นการดำเนินเรื่องในอิสตันบูล และในเรือมีเรื่องราวเข้ามามาก จึงทำให้ต่อเรื่องไปได้เร็วและมีสีสันกว่าในเล่มแรก คนเขียนบรรยาย และพรรณนาสภาพเมืองและความเป็นอยู่ได้ดี (ซึ่งถือว่าในจุดนี้ ทำได้ดีกว่า Patricia A. McKillip เสียด้วย เพราะฝ่ายหลังเน้นเขียนให้ผู้อ่านต่อยอดต่อไปเอง มากกว่าจะติดอยู่แค่ความรุ่มรวยของภาษาที่ใช้ จึงทำให้เห็นภาพได้น้อยกว่า) ตัวละครที่เสริมเข้ามาจากพื้นหลังและความเชื่อที่แตกต่างกันช่วยสร้างภาพความสำคัญของการเป็นเมืองท่าในสมัยทศววรษที่ 14 ของอิสตันบูลได้ดี ทำให้เห็นว่าคนเขียนทำการบ้านและค้นคว้ามาจริง ๆ

ประเด็น gender ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ยังคงถูกกล่าวถึงในหนังสือชุดนี้ อย่างไรก็ตาม การเป็นอิสระของผู้หญิงในเล่มแรกถูกกำหนดไว้ด้วยทัศนคติของตัวละครชายที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของห้าสาว แต่ในเล่มนี้เป็นประเด็นที่เกิดจากวัฒนธรรมและค่านิยมทางสังคมแบบมุสลิม ซึ่งเริ่มตั้งแต่การที่ผู้หญิงจะต้องแต่งกายให้มิดชิด อยู่แต่ในบ้าน แทบจะไม่มีสิทธิออกไปข้างนอก หรือถ้าออกไป ก็ต้องเป็นการไปที่มีญาติฝ่ายชายร่วมเดินทางอยู่ด้วย ซึ่งก็คือสิ่งที่ยังเป็นอยู่ในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกัน โดยส่วนตัว ประเด็นความเป็นอิสระนี้น่ารำคาญน้อยกว่าเล่มแรก เพราะเมื่อเป็นเรื่องของธรรมเนียมปฏิบัติจึงไม่มีความก้าวร้าวที่เกิดจากอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวอย่างเล่มแรกมาร่วมด้วย และก็เพราะเมื่อกฏเกณฑ์สังคมหลายอย่าง ตัวละครในเรื่องหาทางออกและวิธีการแก้ไขได้อย่างราบรื่น

การแก้ไขปริศนาก็เป็นส่วนสำคัญในหนังสือเล่มนี้เหมือนชุดที่แล้ว และก็ยังคงบทบาทเดิม คือเป็นบททดสอบให้ตัวละครแต่ละตัวได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำมาเป็นบทเรียนการดำเนินชีวิตและเป็นคนที่ดีกว่าเดิมอยู่ เทียบกันแล้ว แม้ใน Cybele's Secret บททดสอบที่เข้ามาจริงจังกว่า เร่งเร้ากว่า แต่เหตุการณ์ที่เกิดจากทางเลือกส่งผลให้กับตัวละครน้อยกว่าและการผิดพลาดที่เกิดจากการเรียนรู้บทเรียนนั้นก็อันตรายน้อยกว่า ... แม้ว่าจะทำให้ผลลัพธ์ที่ควรเกิด คือการเข้าใจกันของ Paula และ Stoyan ล่าช้าไปบ้าง

ในหนังสือมีประเด็นที่พลิกผันอยู่นิดหน่อยที่ผู้ร้ายตัวจริงเป็นคนที่ไม่ได้คาดคิดว่าน่าจะเป็น และก็เป็นตัวละครที่ตัว Paula เชื่อถือและไว้ใจมากที่สุดตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่า เป็นสิ่งที่คิดและก็คาดการณ์ไว้แล้วอยู่บ้าง เพราะตัวละครนี้เป็นตัวละครที่เหมือนจะดีจนเกินไป และทำเพื่อส่วนรวมโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของตัวเองเท่าไรนัก ซึ่งในองค์ความรู้ของคนอ่านช่างจับผิดก็รู้สึกว่าไม่น่าจะมีคนดีขนาดนี้อยู่ โดยเฉพาะในหนังสือที่ตัวละคนทุกคนออกมามีบทบาทเพราะจุดประสงค์บางอย่างเสมอ ... ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าควรจะยินไว้อาลัยให้ตัวเองที่ช่างระแวงระวังไปเรื่อย หรือแสดงความยินดีให้กับตัวเองดี

คนเขียนผูกปมปริศนาการทิ้งท้ายของ Cebele’s Gift ได้ดีอย่างยิ่ง เพราะคนจำนวนมากต้องการคำพูดสุดท้ายที่เขียนทิ้งไว้ก่อนจากของ Cebeleในเครื่องราง เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดอำนาจ ความรุ่งเรือง และสำหรับตัว Paula และคนอ่าน เมื่อมีการเชื่อมโยงถึง Other Kingdom เข้ามาก็ยิ่งเชื่อเช่นนั้นเข้าไปอีก หากเมื่อมองให้ชัดเจน คำตอบที่มีเป็นคำตอบที่มีเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ให้ชีวิตให้คุ้มค่า และรู้คุณค่าของผืนแผ่นดินและความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและธรรมชาติ อย่างที่บอกว่า ‘Eat of my deep earth; drink of my living streams, for I am your Mother. Your heart is my wild drum; your breath my eternal song. If you would live, dance with me!’ (หน้า 347)

นอกเหนือจากการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจแล้ว ตัวละครเองก็น่าสนใจไม่แตกต่างกัน เนื่องด้วยตัวเอก ซึ่งก็คือ Paula เป็นคนฉลาด และใช้ปัญญาไตร่ตรองแก้ไขปัญหาที่เกิด และพยายามทำหน้าที่ผู้ช่วยของพ่อระหว่างที่ออกเดินทางมาด้วยกันให้ดีที่สุด จึงเกิดภาพของเด็กสาวที่มีเหตุผล ตัดสินปัญหาด้วยความรอบคอบ สุขุม และเป็นผู้ใหญ่กว่าวัยมาก รูปแบบวิธีการคิด การวางแผน การโต้ตอบสนทนากับตัวละครทั้งหลายทำให้เห็นภาพเช่นนี้ได้ดี และก็ถือว่าคนเขียนประสบความสำเร็จมาก .... อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ย้อนกลับมาฉุดเธออยู่หลายครั้งในเรื่อง เพราะการเป็นคนรู้มากและฉลาด ทำให้ตัวเธอคิดมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ได้มาจาก Other Kingdom และกลับกลายเป็นว่า Stoyan ผู้ซึ่งประกาศตัวกับ Paula อยู่เสมอว่าเป็นคนรู้น้อย และไม่ได้เรียนหนังสือ กลับเป็นคนชี้แนวทางและแก้ปัญหาให้ Paula ได้อยู่เสมอ ๆ ซึ่งในช่วงการทดสอบ Paula เองก็พูดเองว่า หลายอย่างซับซ้อนน้อยกว่าที่คิดไว้ และสิ่งหนึ่งที่ได้จากการเรียนรู้ระหว่างการเดินทางก็คือ เห็นคุณค่าของ wisdom มากกว่า scholarship ทั้งในเรื่องการแก้ไขปริศนา และการเข้าใจโลก ‘I have overestimated the role scholarship plays in finding answers and in understanding the world…. I have learnt that there are deeper kinds of wisdom.' (หน้า 326)

สำหรับตัว Stoyan เอง ภาพที่ปรากฏในตอนแรกก็คือ ผู้ชายเคร่งขรึม ซื่อสัตย์ และจริงจังในการทำงานที่ถือการทำหน้าที่การ์ดให้ความปลอดภัยของ Paula และพ่อมาก่อนทุกอย่าง (อย่างที่ค้นในเวบว่าชื่อนี้มาจาก "stoya" ที่หมายถึง "to stay/to stand" หรือ "hardly” เหมาะมาก ๆ) แต่เมื่อเรื่องราวดำเนินไป ผู้ชายตัวโตน่าทางน่ากลัวนี้กลับมีด้านอ่อนโยนและละเอียดอ่อนให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่ตัว Paula เอง คิดด้วยความหลากใจหลังที่ตื่นจากฝันร้ายและนั่งพูดคุยกับ Stoyan ในคืนแรกว่า ‘There were hidden depths beneath that impassive exterior. A sweet kernel shielded by a tough shell; dancing fire concealed in stone.’ (หน้า 83) (ซึ่งถ้าอ่าน นอกเหนือจากบรรยายถึงความเป็นตัว Stoyan แล้ว การเปรียบเทียบเช่นนี้ก็ช่วยให้เห็นถึงความลุ่มลึกทางวิชาการของตัวเอก – และความรุ่มรวยทางภาษาของคนแต่ง – อีกด้วย) ซึ่งอย่างที่ได้พูดไปในย่อหน้าที่แล้วว่า Stoyan รู้ว่าตัวเองไม่ได้เรียนหนังสือ และมองสิ่งนี้เป็นปมด้อยอย่างหนึ่งของตัวเอง แต่เขาก็เป็นคนที่เฉลียว และก็แก้เป็นผู้ที่แก้ปริศนาให้ Paula ได้หลายครั้ง และก็ต้องขอสารภาพว่าไม่ได้ตกหลุมรักตัวละครมานานมาก แต่ก็เป็นไปแล้วกับการ์ดร่างยักษ์เช่นนี้

ส่วนตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่คงเป็นสาเหตุที่ทำให้ชอบหนังสือเล่มนี้มากก็คือ ความละเมียดละไมของความสัมพันธ์ระหว่าง Paula และ Stoyan ที่ช่วงแรกเหมือนจะเป็นแค่นายกับบ่าว -ผู้จ้างกับการ์ดที่จ้างมา- แต่เพราะความผูกพันที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ทำให้ทั้งคู่เป็นเพื่อนกัน ถึงขั้นที่ความซื่อสัตย์และมุ่งมั่นของ Stoyan ที่มีให้ Paula ทำให้เขาถูกเรียกว่า watchdog ในสายตาคนนอก ซึ่งก็ต้องบอกว่าส่วนหนึ่งก็เพราะความรู้สึกภายในที่ Stoyan ที่มีต่อ Paula ด้วย และก็เพราะการอยู่เคียงข้าง คอยคุ้มครอง และพยายามทำความเข้าใจนี่เองก็ช่วยให้เจ้าตัวเอาชนะใจเธอได้ ช้า ๆ มั่นคง และสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การฝันร้ายในตอนกลางคืน และตื่นขึ้นมากลางดึกของ Paula ในหลายครั้ง รวมไปถึงช่วงที่ผจญภัยไปด้วยกัน ทำให้ทั้งคู่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอีกฝ่าย ได้ทำความรู้จักสิ่งกันและกัน อย่างที่ข้อผูกมัดของระเบียบและกฏเกณฑ์สังคมไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ทั้งคู่ได้ ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างที่มีคนเตือน Paula ไว้ก็ได้ ‘Before she knows it, a young woman can find herself swept into very deep waters.’ (หน้า 144)

เหมือนที่ครั้งหนึ่งอ่าน Pillars of the World ของ Anne Bishop แล้วนางเอกเปรียบผู้ชายสองคนให้เป็นฝนกับพายุ แล้วเลือกคนแรกว่าบอกว่า สายฝนอาจจะดูเอื่อย ๆ ไม่ตื่นเต้นเร้าใจเหมือนพายุ แต่ก็ไม่ทำลาย ช่วยให้ต้นไม้ได้เติบโต ... อะไรสักอย่าง อ่านมานานแล้วจำไม่ได้ แล้วก็รู้สึกว่าไม่ค่อยเกี่ยวกับเคสนี้ด้วย แต่อ่านแล้วนึกถึง เพราะว่าเลือกใคร นางเอกของเราก็คงหาความสุขให้ตัวเองได้พอกัน

ตัวละครอย่าง Duarte ก็มีความลุ่มลึกในแบบของตัวเองไม่แตกต่างกัน ชื่อเสียงความเป็นโจรสลัดไม่ได้มาในด้านบวกเสมอไป และเมื่อเขาเข้าร่วมการประมูล Cebele’s Gift ก็ยิ่งทำให้เขาถูกมองว่าอยู่เป็นตัวการที่อยู่เบื้องหลังอันตรายทั้งหมด ซึ่งภาพที่ผู้เขียนพยายามให้เกิดก็เป็นเช่นนั้นเสียด้วย แต่เมื่อความจริงเริ่มคลี่คลาย และสาเหตุความต้องการนั้นชัดเจนขึ้นก็ทำให้เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อ Duarte ไปได้อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อได้รับโอกาสจาก Other Kingdom ให้เลือกของหนึ่งชิ้น และเขาเป็นคนเดียวที่ไม่ลังเลที่จะเลือกของเพื่อผู้อื่น มากกว่าเพื่อตัวเอง ประโยคเด็ดมากที่แสดงให้เห็นถึงศักิด์ศรีของเจ้าตัวอยู่ที่หน้า 330 ที่บอกว่า ‘I have come not to take, but to give.’

ปกหลังของหนังสือเขียนไว้ว่าเป็น ‘A startling love triangle’ ตอนนี้ก็ลุ้นอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะตอนแรก Duarte ซึ่งเป็นโจรสลัดมากด้วยเสน่ห์ และทำอะไรตามอำเภอใจมีบทบาทในหนังสือก่อน และ Paula ก็ดึงดูดเข้าหาความเชื่อมั่นนั้นด้วย แต่พออ่านไปเรื่อย ๆ ก็ค่อนข้างแน่ใจว่าพระเอกเป็นใคร และความรู้สึกของ Paula ก็ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งอันที่จริง ถ้าตัว Duarte จริงจังมากกว่านี้ และทำความรู้จักได้เร็วกว่านี้ก็อาจจะชนะใจ Paula ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะเห็นได้ชัดว่าเป็นคนที่เท่าเทียมกับเธอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการชาติตระกูล ฐานะ การศึกษา ความรู้ อย่างที่ Paula บอกเองเลยว่า การได้คุยกับ Duarte ทำให้รู้สึกเหมือนได้การโต้เถียงกับเพื่อนในวงวิชาการที่ Other Kingdom ของเธอเป็นครั้งแรก

มีจุดเดียวที่ไม่ชอบในหนังสือ และไม่ชอบเกี่ยวกับ Stoyan ก็คือ หลังแก้ปริศนาสำเร็จ เขาเกิดความไม่มั่นใจขึ้นมาเกี่ยวกับความรู้สึกที่ Paula มีต่อเขา และตัดสินใจที่จะออกหนีออกมา (ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ คือ เมื่อกลับมาที่อิสตันบูลได้สักพักก็หนีหายไปเลย) และกว่าจะกลับมาหาเธอใหม่ก็ผ่านไปจะร่วมปี ซึ่งแม้จะมองว่าสิ่งที่ต้องทำก็เถอะ รู้สึกว่าไร้เหตุผลไปนิด แต่อย่างน้อย ถ้าคิดในแง่ดี ก็ให้ทั้งคู่ได้ไปทบทวนตัวเอง (สำหรับฝ่ายชาย ไปลับตัวเอง และล้มปมในใจ และฝ่ายหญิงให้รู้ใจตัวเองว่ามากกว่าแค่ความใกล้ชิด) ซึ่งก็อาจจะดีก็ได้

ถึงจะบอกว่าเขียนให้เป็น Young Adult แต่เล่มนี้ดูโตกว่าเล่มที่แล้วหรือเปล่าหนอ สรุปให้ว่า a sweet and refined delight!

ปล. สุดท้าย Stoyan สารภาพออกมาว่ารัก Paula ตั้งแต่แรกเห็น ซึ่งคนอ่านก็คิดว่าจะมีพูดต่อ กรี๊ด กรี๊ด เคือง อยากรู้ใจจะขาด

แล้วจะมีเล่มต่อไปไหมคะ เหลือน้องสาวคนเล็กอีกคนให้เล่านะ!!!

เล่มนี้พูดยาวชนะ Wildwood Dancing กับ Od Magic อีก โอ้ ยาวชนิดที่ใช้เวลาเขียนแทบจะพอกับเวลาอ่าน แล้วก็ยังรู้สึกว่าเขียนได้อีก อ่านไปจะ 2 รอบแล้ว!!

นอกเรื่อง
เคยอ่านที่ คุณแม็กซ์ แห่ง Mostly Romance เขียนไว้ว่าพระเอกเป็นหมาป่าก็น่ารักดี แต่มันไม่เท่ ไม่หล่อเร้าใจเหมือนตอนเป็นคน สิ่งนี้ก็อาจจะจริงสำหรับ Wildwood Dancing ก็ได้ ถึงแม้ Gogu จะเป็นกบแสนดี รู้เรื่อง เข้าใจก็ตาม แต่ก็เป็นแค่กบอยู่ดี กว่าจะกลายร่างเป็นคนก็ตอนจบเล่ม นอกจากจะรู้สึกแปลกหน้าไม่ผูกพันแล้ว ยังรู้สึกว่าขาดตัวละครที่ควรจะมีอีกแล้ว และดังนั้น การให้ Stoyan มีบทบาทตั้งแต่แรก ๆ เป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง :D :D

เพ้อเจ้อ!!
(สปอยล์แหลก - 170209)

The Book itself!
ต้องสารภาพว่าอ่านเต็ม ๆ แบบหน้าแรกยันหน้าสุดท้าย 2 รอบ และมีครั้งที่พลิกอ่านไปอ่านมาเฉพาะตอนที่ชอบอีกก็เป็นหลายสิบ ก็กลับมาว่าแนว Rich fantasy แบบนี่อ่านเอาเรื่องอ่านเอาความแบบ Urban Fantasy ไม่ได้จริง ๆ ไม่ใช่แค่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน commit murder and solve crime ไม่พอ แต่ต้องเป็น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่นไร เพราะเหตุใด และไอ้อย่างไร เช่นไรนี่ก็มีบทบาทสูงเสียด้วย จะไปอ่านเอาความตามเนื้อก็ได้ ต้องดูความหมายของประโยคแล้วดูใจความที่ซ่อนอยู่ข้างใน และความหมายแฝงอย่างหนัก หนังสือรายละเอียดเยอะ ขึ้นขั้นที่คนอ่านละเอียดอย่างอีฉันเสียความเชื่อมั่นทุกครั้งที่อ่านใหม่และเจอสิ่งที่ครั้งแรกไม่ได้สังเกตหรือไม่ได้เห็น แค่ 50 หน้าแรกก็ดูดเข้าสมองไม่ทันแล้ว รายละเอียดเยอะ ยิ่งบวกกับการตีความอีก symbolism แรงทั้งหนังสือทั้งคนอ่าน ตีความไปเหมือนจะเป็นบ้า โอ กู เอากระดาษมาจดโน้ต จดไอเดียยิ่งกว่าตอนเรียนโท แล้วก็อ่านไปยิ้มไปคนเดียว กรี๊ดไปคนเดียว พฤติกรรมเหมือนบ้า boyband ไม่ได้เกิดขึ้นมาร่วมสิบปีแล้ว กรี๊ด

กำลังสงสัยว่า ถ้า YA ยังขนาดนี้ ต้องไปจิกหา Sevenwaters มาอ่านจะดีไหมคะ? แล้วจะมีเล่มต่อไหม กรี๊ดด ถึงได้ชอบ UF อย่างนึงที่มีให้อ่านไปเรื่อย ๆ กรี๊ดดดด แล้วเมื่อไหร่จะได้กลับไป Other Kingdom ไม่มีโอกาสเลยเหรอคะ เล่มนี้อุตส่าห์มีหวัง

Gender Matters?
ทั้งที่พูดว่าไม่รู้สึกถึงประเด็น gender มากนี่ แต่ในเรื่อง และในสังคมสิ่งที่แรงนะ อย่างที่ Paula รู้สึก frustrated ที่ไปซื้อของคนเดียวไม่ได้ เพราะพ่อค้าไม่ยอมขายให้ หรือมิฉะนั้นโก่งราคา ไม่ลดให้เพราะเห็นว่าเป็นผู้หญิง หรืออย่างที่ชัดมากก็คือ ตัว Irene of Volos ที่เป็นผู้หญิงที่เก่ง ฉลาด มีอำนาจ ซึ่งอันที่จริง ถ้าเธอเป็นผู้ชายก็คงได้เป็นใหญ่เป็นโตไปแล้ว อย่างที่มันอาจมาเป็นในรูปที่ เธอวางตัวเองเป็นเจ้าลัทธิ Cebele ในอิสตันบูล และให้คนอื่น ๆ มาบูชาเทิดทูนเธอ และก็รู้สึกสะใจที่ทำให้ Imam ในเมืองปั่นป่วนกันกระแสนอกรีตนอกศาสนา ความเบี่ยงเบนที่ต้องการอำนาจและต้องการต่อกร/ แสดงออกบางอย่างนี่ชัดมาก

Irene of Volos
Irene กับ Paula - จริง ๆ แม้เธอจะหักหลังและใช้ความเชื่อใจของ Paula ให้เป็นประโยชน์กับตัวเธอ และแม้จะสั่งฆ่าคนอย่างเลือดเย็น แต่บางครั้งก็เหมือนว่า Irene จะเอ็นดูและถูกใจ Paula จริง ๆ จากความรู้และความเฉลียวฉลาดที่มี สังเกตได้ว่าเธอพยายามเกลี้ยกล่อมให้มาเป็นพวกหลายครั้ง และเป็นคนเดียวที่ไม่สั่งให้ฆ่า

Irene กับ Stoyan และ Duarte - ซึ่งก็คงรวมไปถึงความเกลียด Stoyan และ Duarte อย่างจับใจด้วยกระมัง เพราะการที่บูชาปัญญาและความรู้ ทำให้รู้สึกว่าการ์ดตัวโตอย่าง Stoyan ใช้แต่กำปั้นมากกว่าสมอง ยิ่งเธอมองว่าความสนิทสนมที่ Paula มีต่อ Stoyan เป็นสิ่งไม่คู่ควรก็ยิ่งเลวร้ายไปอีก ถึงขั้นสั่งฆ่าเป็นคนแรกทุกครั้งที่ทำได้ กับคนหลัง ไม่ชัดมาก แต่ก็คงไม่ต่างกัน ความเกลียดผู้ชาย เพราะสาเหตุที่ว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นไม่ได้ อิจฉาที่ผู้ชายมีอำนาจได้มากกว่าผู้หญิง และผู้ชายกำหนดบทบาทในสังคมให้ผู้หญิงเป็นได้แต่เมียและแม่ ซึ่งประเด็นหลังเห็นได้ชัดมากในเคส Stoyan และ Duarte ที่เธอมองว่าจะดึงฉุด Paula จากศักยภาพและความเป็นไปได้ของเธอ

Irene กับ Murat - เกือบคิดว่าเธอมีแนวโน้มเลสเบี้ยนซะแล้ว .... อย่างไรก็ตาม ตอนที่ Stoyan ฆ่า Murat แล้วเธอยอมตายอยู่ด้วยกันในถ้ำมากกว่าจะหนีออกมา และยอมทิ้งสิ่งที่ติดตามมาอย่าง Celebe’s Gift นี่มันชัดมากเลยนะ บททดสอบของ Paula Stoyan และ Duarte ส่วนหนึ่งก็เพื่อทดสอบความเชื่อใจ แต่ Irene มีมาให้ Murat มาตลอด ถึงขั้นที่เธอเชื่อมั่นในตัวเขาว่าจะไม่มีทางพ่ายแพ้หรือผิดพลาดถ้าเธอสั่งให้เขาทำอะไร และแววตาที่ Murat มอง Irene ก็เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เจ้าตัวดูไม่เย็นชานะ Love it has so many beautiful faces. อย่างที่ Gary Barlow ร้องไว้จริง ๆ

Irene กับ Pero - แอบเคืองที่ Pero ตาย แถมตายแบบหาศพไม่เจอด้วย มองว่ามันการเน้นของคนเขียนให้เห็นความโหดร้ายเลือดเย็นของ Irene มากกว่าอย่างอื่น ไม่ให้ตายก็ได้ แต่ถ้าฆ่าแค่การ์ดก็คงมองว่าไม่มี impact ในใจคนอ่านอย่างอีฉันพอ

Those damn tests and trials
เล่มที่แล้วดูมีผลกับส่วนร่วมมากกว่านะคะ เล่มนี้เหมือนเป็น สำหรับ lovers to be อย่าง Paula กับ Stoyan

Paula กับ Stoyan
ความลัมพันธ์ระหว่าง Paula กับ Stoyan อยู่บนพื้นฐานความเป็นเพื่อน และพัฒนาไปจนเป็นความรัก (เหมือนปัญหาไก่กับไข่ เวลาพูดถึง Platonic love ระหว่างความเป็นเพื่อนของคนต่างเพศ ??) ไม่ว่าจะเป็นเพราะรู้สึกตัวช้า หรืออยู่ในสถานะ in denial ก็ตาม (ในแง่นี้ Stoyan หัวไวกว่าเยอะ ฉลาดไม่ต้องเรียนจริง ๆ) แต่ก็นั่นแหละ สำหรับผู้หญิงอย่าง Paula ที่ฉลาด และระวังตัว ความรักที่ดีที่สุดสำหรับเธอก็คือการเริ่มต้นมาจากเพื่อน และพัฒนาไปบนพื้นฐานความเชื่อใจไว้ใจ มีอยู่ตอนหนึ่งที่ Paula คิดว่า ’... it came to me that this would be like discovering a new book, a compelling one full of surprises, and then, just when I was becoming absorbed in the story, having it snatched away half-read.’ (หน้า 140) ไม่ว่าจะเป็นในฐานะเพื่อนหรือที่จะตามมาก็ตามที แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่มีต่อชายหนุ่ม

และถ้ามองว่า Stoyan ไม่เหมาะสม ไม่คู่ควร และแตกต่างจาก Paula ก็แปลกดีที่มีปริศนาที่ใบ้คำตอบให้เธอก่อนแล้วว่า Water and stone. Flesh and bone. Night and morn. Rose and torn. Tree and wind. Heart and mind. (หน้า 328 และ 373) ที่ใบ้เป็นนัยให้รู้ว่า ไม่ต้องเหมือนกันก็ได้ เพราะทุกอย่างมีความหมายในตัวเอง และของที่แตกต่างกัน ตรงข้ามกัน ก็ช่วยส่งเสริมกันได้

ที่เขียนไปว่าปัญญาพาจนสำหรับ Paula อยู่หลายครั้ง ก็รวมถึงครั้งที่จะสารภาพรักและดันไปเริ่มว่าไม่เหมาะสมกันอย่างโน้นอย่างนี้ เพื่อจะบอกว่า ยังไงก็ไม่อยากจากกัน ไม่อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ผลจริง ๆ เพราะเจ้าหนุ่มก็ฟังจนสลดไปแล้ว บทของ scholarship แรงกว่า wisdom นะ ความรักไม่ต้องใช้เหตุผลก็ได้นะคะ ... แล้วพอเจอกันอีกครั้งก็ขำมาก ที่เธอเห็นลูกหมาวิ่งเข้าไปหา Stoyan แล้วคิดในใจว่า หมาคิดถูก คำพูดที่ดีที่สุดสำหรับเวลาอย่างนี้ก็คือไม่พูดเลย ก่อนจะวิ่งเข้าไปหา แล้วก็ถูกจริง ๆ เพราะทำให้ชายหนุ่มเห็นว่าคิดยังไงโดยไม่ต้องใช้คำตอบ (ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่เกิดความเข้าใจผิดก็ได้)

อ้อ ต้องชมด้วย ตรงที่ Irene สั่งยิง Stoyan แล้ว Paula วิ่งมาเอา Cebele’s Gift จากกระเป๋า Duarte ขู่จะโยนทิ้งถ้าจะฆ่าใครในกลุ่มไปเนี่ยขำมาก เพราะว่าคุณเธอบลัฟแหลกชนิดที่หยิบอะไรก็ไม่รู้มา (อยู่นาทีชี้เป็นชี้ตาย) แล้วบอก Stoyan ที่อึ้งภายหลังว่า สิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นนั่นแหละสำคัญ .. เธอทำแบบนี้มาแล้วครั้งหนึ่งที่เอาน้ำเปล่าผสมน้ำพุวิเศษเล่มที่แล้วนะ

ปล. ขอโทษที่นึกถึงเวลาสองคนนี้นั่งคุยกันกลางดึกแล้วคิดถึง คุณหญิงดารินกับตาพรานรพินทร์มาเป็นระยะ ๆ (เกลียดรพินทร์ ชอบ Stoyan)

Stoyan
ได้รับมอบหมายให้พิชิตบททดสอบที่เกี่ยวกับ courage, steadfastness, openness โดยที่บอกว่าสำหรับแต่ละข้อ จะมีรางวัลตามมา สำหรับแต่ละข้อ และสิ่งที่ได้รับ เกี่ยวไหมว่าเป็นลำดับตามกัน และ openness ก็คือตัว Paula เองหรือไม่ หรือว่าทุกข้อโยงใยกันหมด เพราะแง่หนึ่งสิ่งที่ทำให้ Paula เชื่อมั่นและไว้ใจ Stoyan มากก็คือ ใจที่เปิดกว้างรับฟัง และเชื่อเกี่ยวกับ Other Kingdom ซึ่งเป็นสิ่งที่ Duarte ทำไม่ได้หรือไหมหนอ (แต่นะ steadfastness ก็มีผลอย่างยิ่งด้วย)

คืนแรกที่ Stoyan กับ Paula คุยกัน Stoyan บอกว่ามีความฝันจะทำฟาร์มเลี้ยงหมาเลี้ยงแกะบูลกาเรี่ยน (bugarski goran – Stoyan เป็นคนบูลกาเรี่ยน) ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ตัวโต แข็งแรง กล้าหาญ และซื่อสัตย์ แล้วอีฉันก็ลืมประเด็นนี้ไปจนหลัง ๆ ที่มีคนเรียก Stoyan ว่า watchdog/ guarddog ทั้งที่ลักษณะเด่นของเจ้าหมานี่ก็สะท้อนตัวการ์ดร่างยักษ์ได้อย่างดี (รวมไปถึงตอนที่ทำเควสหาสัตว์ในถ้ำ แล้วเจ้าตัวได้หมา ส่วน Murat ได้แมวมาด้วย) เอานะ ถ้าจะเป็นหมา ก็เป็น Hot dog! นะคะ :D

ดูว่า Stoyan ไม่ค่อยพูดมาก เป็น A man of few words. (พูดตามการเล่าเรื่องของ Paula) ดู impassive แต่ก็ไม่ได้ความว่าต้อง impassive จริง ๆ เพราะอย่างที่บอกว่าเจ้าตัวเหมือนหมา อารมณ์ก็จะแรงและแสดงออกชัดด้วย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ Paula เป็นเรื่องทุกที ขำตอนที่พอบอกให้เลือกทีมที่เชื่อใจกันที่สุด (จับคู่อันที่จริง) แล้วพอ Paula บอกว่าต้องเป็นเธอกับ Stoyan แล้วเธอหน้าแดง แล้วก็พึมพำตอนสำเร็จว่า You chose the right team. ที่อีป้าต่อยอดไปเองว่าว่าเท่ากับ You chose me.

เสน่ห์ที่ชอบที่สุดก็คือ protective (แม้ว่าจะ over-protective ไปหลายครั้ง) แล้วตรงที่รู้สึกว่าน่ารักที่สุด ก็คือตอนที่ Paula ไม่กล้ากลับไปนอนหลังฝันร้าย แล้วบอกว่า ‘I will be here, just by the outer doorway. I will place the light where you can see from your pallet. Your dreams will be good ones now. I know it.” (หน้า 139) คือที่พูด ๆ มาก็อธิบายลักษณะบุคลิกได้ดีหรอกนะ แต่ตรง I know it. เนี่ย ถูกใจเกินล้านน!

Duarte
จริง ๆ ก็เป็นตัวละครที่น่ารักอีกตัวนะ แล้วก็เป็นเหตุที่ไม่ชอบรักสามเศร้าด้วย สามเส้าสิ เพราะไม่ชอบเวลาที่มีใครต้องผิดหวัง บทบาทของ Duarte เกือบจะเป็นมือที่สามมากกว่าจะเป็นมุมที่สาม (ของสามเส้า) เพราะแทรกเข้ามาทีไร “คู่รักจะเป็น”ของฉันก็เกิดเรื่องระหองระแหงขึ้นมาทุกที ถ้าเป็น IAD ไม่ต้องคิดเลย โจรสลัดโปรตุกีสของฉันเป็นพระเอกเล่มหน้าแน่

บทเรียนที่ Duarte บอกว่าได้รับมา ก็คือ ความเชื่อใจ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าหมายถึงกับ Paula ในทางส่วนตัวหรือเปล่า ถ้าถามส่วนตัว Duarte บอก Paula อยู่เสมอว่าอย่าตัดสินคนที่ภายนอกหรือจากคนอื่นบอก แต่ก็เหมือนว่าเขาก็ทำเช่นนั้นกับ Paula ด้วยเหมือนกัน ยิ่งเมื่อมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวก็ยิ่งทำให้เขาระแวงเมื่อคิดว่า Paula เป็นลูกสาวของคู่แข่งคนที่มีสิทธิแย่ง Cebele’s Gift ไปจากเขา และกว่าจะไว้ใจและมอง Paula อย่างที่เป็นก็คือตอนที่อยู่เขาไปแล้ว (ตลกที่ถูกใจว่าเธอเดินเขาปีนเขาได้ ไม่เป็นตัวถ่วง และกล้าที่ข้ามหน้าผา) ... ซึ่งจริง ๆ Duarte อาจจะถูกใจ Paula มาเป็นระยะก่อนหน้านั้นก็ได้ แต่เพราะมีหนี้เกียรติยศที่ต้องคืนให้ Cebele’s Gift อยู่ก็เลยไม่อาจทำตามใจได้เต็มที่

มีคำพูดของ Duarte ที่ชอบอยู่สองตอน คือ พูดถึง Cebele’s Gift ว่า ‘I stand by my comment … Whatever value a merchant may place on this particular piece, it cannot be treated in the same way as silk carpet or a piece of fine silverware. This is a symbol of genuine belief. And faith can not be bought and sold. (หน้า 164) ตอนที่เหล่าพ่อค้าแลกเปลี่ยนความเห็นกันเรื่อง

กับตอนที่ขอ Paula แต่งงาน .. ซึ่งอย่างที่บอกไปว่า Duarte เริ่มมอง Paula จริงจังตอนที่อยู่บนเขา และคิดต่อไประหว่างล่องเรือกลับมา ซึ่งก่อนจะเจอเธอ ก็ไม่เคยคิดเรื่องแต่งงานเลย (จริง ๆ ตรงนี้ดูเป็นพล็อตโรแมนซ์ย้อนยุคโจรสลัด/ขุนนางนะ) ชอบคำขอแต่งงาน (ซึ่งน่ารักกว่าของ Stoyan เยอะ!) ‘…I found it difficult to say farewell to you, down at the docks. Then it came to me – I thought, Perhaps I need not to do this. Why would we not go forward together, side by side, companions in an even greater adventure? I believe we would continue to surprise and delight each other and add spice and sweetness to each other’s life.’ (sohk 370) อยากจะแบ่งร่าง Paula ได้ และให้ไปคนละหนึ่ง Paula จริง ๆ

Tati – that sister is back!
โอ๊ยย พูดแล้วอารมณ์ขึ้น คือเป็นตัวละครที่ไม่ชอบมาตั้งแต่เล่มที่แล้ว ไม่ชอบแบบไม่ชอบมาก ๆ แล้วเล่มนี้ก็ยังไม่ชอบต่อไป ไอ้ที่บอกว่าเป็น the pretty one ฉันอยากจะบอกว่าเป็น the brainless one จะถูกกว่า เล่มที่แล้วก็คร่ำครวญจะหาผู้ชาย เล่มนี้ก็บ่นคิดถึงครอบครัว แล้วตอนที่ทำเควสได้จากความช่วยเหลือของน้องและเพื่อน ๆ แทนที่จะทักน้องก่อน ดันไปปลื้มดีใจกับสัตว์เลี้ยงของตัวเองที่ Duarte เจอระหว่างทางอยู่นานโคตร ก่อนจะทักน้องอยู่ 2 ประโยค แม่ง แม่ง แม่ง อีบ้า

ปล. โอย เหนื่อยมาก เหนื่อย ว่าจะเขียน Iron Hunt พอแล้วดีกว่า โอย เหนื่อยๆๆๆ

อีกนิด 190209
กับสงสาร Duarte แค่จะเอาเครื่องรางมาคืน ต้องบุกป่าฝ่าดงไม่พอ เพื่อนก็ยังต้องมาตายอีก เป็นตัวเองคงเซ็งนะ แค่หจะเอาของมาคืนแท้ ๆ ทำความดีทำยากแล้วก็เหนื่อยจริง ๆ กับอีชาวบ้านบ้า เหนื่อยเลือดสาดยังให้มาเต้น ๆ ฉลองอยู่ได้แล้วก็นะ นะคะ บอกไว้แล้ว ทำนายไว้แล้ว ถ้าคนนอกไม่เอามาคืน ไม่คิดจะออกไปตาล่าหาเองเลยใช่ไหม

แล้วก็คิดจริง ๆ ว่าถ้า Stoyan กลับมาแบบนี้ เป็นนางเอก UF ถูกเตะไม่ก็ชกไปแล้ว แล้วคนที่ขอโทษก็คือ Paula นะเนี่ย

ปกหลังเวอร์ชั่นอื่นจาก amazon
"Bewitching despite flaws, this companion to Wildwood Dancing (2007) picks up six years later. Younger sister Paula, who debated philosophy in the Other Kingdom while her sisters danced, now assists Father on a trade journey to Istanbul. They seek Cybele's Gift, an ancient pagan artifact so threatening to the Muslim political powers that all inquiries must be covert. Personal guard Stoyan sleeps protectively across their doorway and escorts Paula to the lone library open to female scholars in this restrictive city. A shock at the artifact's unveiling leads Paula, Stoyan and condescendingly flirtatious pirate Duarte on a journey underneath a mountain, fulfilling quest tasks set by the Other Kingdom. Such challenges supposedly give mortals "wiser hearts," but these riddles and tests have tepid answers. The story takes too long to find momentum, and Marillier troublingly casts both feminism and Islam in a bad light, heavily exoticizing Istanbul. However, despite these weaknesses, genuine emotion and Paula's alluring love story create a memorable page-turner. (Romanian glossary, not seen) (Fantasy. 11-14) (Kirkus Reviews) --This text refers to an out of print or unavailable edition of this title. "

11 comments:

  1. ขอคอมเม้นต์นอกเรื่องนิดนึงนะคะ

    เห็นคุณพูดถึงแอนน์ บิชอปเลยอดไม่ได้น่ะค่ะ ด้วยความที่เป็นแฟนหนังสือชุด The Black Jewels อย่างรุนแรง เลยขอส่งเสียงน่ะค่ะว่า ชอบงานของแอนน์มาก (และอยากอ่าน The Shadow Queen มาก)

    ส่วนเรื่องแนว YA เนี่ย ขอยอมรับว่า อ่อนด้อยประสบการณ์มาก (ไม่เคยกระทั่งจะได้ยินชื่อของจูเลียตมากก่อนด้วยซ้ำ) เคยอ่านเฉพาะงานที่นักเขียนโรแมนซ์/UF ผันตัวเองมาเขียนแนว YA เท่านั้นเอง (ซึ่งเท่าที่อ่านก็ยังไม่ถึงกับปิ๊งใครเป็นพิเศษ)

    ReplyDelete
  2. เย้ ดีใจค่ะ ได้เพื่อนอ่าน The Black Jewels มาอีกคน
    จริง ๆ ชุดนี้ชอบ แต่ตอนที่ทำวิจารณ์ไว้มีแค่ The Invisible Ring เองค่ะ
    ว่าจะทำหลายครั้งก็ไม่ได้ทำ จนป่านนี้
    (เป็นอุทาหรณ์ว่าอ่านอะไรให้เขียนเก็บไว้จริง ๆ
    จะมานั่งรีวิวตอนนี้ก็ยังไม่เหมือนตอนอ่านครั้งแรกเนอะ)

    นอกจาก BJ แล้ว คุณเมย์อ่านชุดอื่นด้วยหรือเปล่าคะ

    อย่างไรก็ตาม
    Hell’s fire, Mother Night, and may the Darkness be merciful. ค่าา
    (ฮ่า ๆ คู่กับประโยคว่า Everything has its price!)

    ReplyDelete
  3. อีกรอบ
    ที่ทราบมา จริง ๆ Juliet Marillier เธอเขียนเรื่องแนวแฟนตาซีที่อิง folklore ค่ะ
    แนว YA เธอก็เพิ่งมาเขียน 2 เล่มนี้เหมือนกัน
    แต่จริง ๆ ก็ต้องสารภาพว่าอ่านหนังสือน้อยค่ะ งู ๆ ปลา ๆ ไปเรื่อย ๆ
    อย่าง YA ก็รู้จักไม่กี่เล่ม

    ReplyDelete
  4. เมย์เองเป็นคนที่อ่านแนวไซไฟมากกว่าแฟนตาซีค่ะ ทั้งที่เวลาอ่านตอนเขาบรรยายช่วงวิทยาศาสตร์ก็จะส่ายหัวแบบ "กูไม่รู้เรื่องเลยวะ" ก็ตาม ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันนะคะ แต่มักได้ความรู้สึก (ซึ่งไม่รู้ว่าจริงไหม) ว่าหนังสือแฟนตาซีเนี่ยตัวละครผู้หญิงจะอยู่ในลักษณะที่ subservient ซึ่งตรงนี้แหละเป็นแนว pet peeves ของเราอย่างรุนแรง เลยไม่ค่อยจะได้หยิบเอาแนวแฟนตาซีมาอ่าน และความรู้ด้านนี้จึงน้อยนิดยิ่งนัก

    แนว YA ก็เช่นกันว่าไม่ค่อยได้อ่าน เพราะมักนึกเอาเอง (ที่ต่อมาพิสูจน์แล้วว่าผิด) ว่าแนวนี้จะเป็นเรื่องของเด็กวัยรุ่น เพิ่งมาช่วงสองสามปีก่อนนี่แหละที่เริ่มต้นอ่าน YA หลายเล่ม ตาเลยสว่างขึ้น

    กลับมาที่แอนน์ ชุด TBJ เนี่ยถือเป็นแนวแฟนตาซี (จัดแนวถูกไหมเนี่ย?) ที่อ่านเล่มแรก ๆ เพราะมีเพื่อนแนะนำให้อ่าน ก่อนจะเริ่มอ่านก็ลุ้นตัวเองหลายรอบ เพราะรู้สึกเหมือนว่าจะเป็นเรื่องอ่านยาก ไม่ใช่ในแง่ภาษานะคะ แต่เป็นความคิดว่า เรื่องนี้จะต้องกดดันคนอ่านเยอะ ๆ แน่เลย ปรากฎว่า เราอ่านทีเดียวจบสามเล่มในเวลาสองวัน เกิดอาการเมาค้างชั่วขณะ เพราะนอนไม่เพียงพอ

    เมย์อยากอ่าน TSQ เพราะเป็นเรื่องที่ต่อเชื่อม TIR เข้ากับชุด TBJ อย่างจริงจังที่สุด ไปอ่านรีวิวของคนที่ได้ ARC มา บอกว่า เล่มนี้จะเล่าความเป็นไปหลังจาก TIR ให้ฟังกันด้วยนิดหน่อย ก็เลยยิ่งอยากอ่าน เพราะเมย์เองค่อนข้างชอบ TIR

    อีกชุดของแอนน์ที่เมย์อ่าน คือ Ephemera (เรายังไม่ได้เริ่มอ่านชุด Fae)ซึ่งยังคิดว่าเทียบกับชุด TBJ ไม่ได้เลย และคิดว่านี่อาจจะเป็นเหตุผลที่สุดท้ายแล้วเธอก็เลยกลับมาเขียนชุดนี้อีกรอบ หลังจากจบไตรภาคเรื่องของจาแนลล์ไปแล้ว

    ตอบที่นี่ยาวกว่าที่เอ็กซ์ทีนะคะ ยิ่งเขียนก็ยิ่งยาวค่ะ

    ReplyDelete
  5. คุณเมย์ โอ้ ท่าทางตอบยาวแน่ ๆ ค่ะ

    Ephemera นี่ เห็นด้วยว่าสนุกน้อยที่สุดค่ะ
    พล็อตเรื่องหลวมกว่าเรื่องอื่น แล้วขาด ๆ เกิน ๆ นะคะ
    เหมือนองค์ประกอบมันจะลงตัว แล้วก็ไม่ลงตัว
    เล่ม Belladonna น่าจะสนุกได้กว่านั้นเยอะ อย่างพระเอกที่โผล่ออกมาก็เหมือนจะเก่ง
    แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ก็ไม่มีบทบาทมากเท่าไหร่ ตัว Sebastian ยังมีบทมากกว่าเลย
    (พูดแล้วแค้นใจ อุตส่าห์กัดฟันเอาปกแข็งมาอ่านแท้ ๆ )
    แต่ชุดนี้ความเป็นกึ่ง ๆ romance มากกว่าชุดอื่นนะคะ ว่าไหม

    ชุด Tir Alainn/ Fae
    ตอนแรกไม่ชอบเลยค่ะ เพราะรู้สึกว่ากดดันไปหน่อย
    เหมือนมีอำนาจในมือ แต่ไม่ใช้/ ใช้ไม่ได้/ ต้องรอเวลา
    แต่พอกลับมาอ่านรอบที่สอง หลังจากผ่านไปเกือบสองปี
    ชอบมากกว่าเดิม แล้วก็คิดว่าผูกเรื่อง+ดำเนินเรื่องดีกว่า BJ อีกค่ะ
    (แม้ว่ารู้สึกว่าบางครั้งคนเลว-ในแต่ละเล่ม-ได้รับผลกรรมไม่พอที่จะเป็น)
    เพราะผลกระทบคล้าย ๆ กันกับ BJ คือมีคนที่บิดความเชื่อที่ควรเป็น
    ให้ความไม่ดีนั้นกระจายไปสู่โลก แต่เขียนออกมาเห็นผลกระทบ เห็นคนจากที่ต่าง ๆ ชัดกว่า
    ต่างจาก BJ ที่เราจะเห็นคนที่ได้รับผลนี้ชัดสุดแค่กลุ่มเดียว คือคนที่อยู่รอบตัวตัวเอก
    (แต่พล็อตไอ้สังคมบิดนี่ 3 ชุดมีเหมือนกันหมดเลยนะคะ
    ตอนนั้นเคยคิดจะนั่งเปรียบเทียบ BJ กับ Fae แล้วก็ไม่ได้ทำ -_-"")

    แต่นะคะ เสน่ห์ที่สำคัญที่สุดของ BJ ส่วนตัวแล้วก็คือ
    unleash power นี่แหละ ตาต่อตา ฟันต่อฟันที่สุดแล้ว
    ใครไม่ดี ใครทำชั่ว ได้รับผลกรรมทันใด

    กรี๊ดดด อ่าน Sharon Shin ด้วยเหรอคะ จริงสิคะ :D
    แต่ก็ต้องสารภาพว่าอ่านแค่ Twelve Houses Series ชุดเดียว
    ไม่ได้ไปถึงชุดอื่นสักที ทั้ง ๆ ที่ชอบงานเธอนะคะ
    (นี่ก็ไม่ได้วิจารณ์ต่อเหมือนกัน ทำไว้แต่เล่มเดียวที่ Mystics and Rider)

    ทนไม่ได้กับแนวนางเอก subservient เหมือนกันค่ะ
    เวลาอ่านก็เลยจะเรื่องมากนิดนึง ว่าเป็นตัวเอกแบบที่เราชอบ
    และแบบที่กำหนดชีวิตตัวเองได้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม
    ซึ่งสงสัยทำให้อ่านแฟนตาซีรุ่นเก่า ๆ ไม่ได้เลย
    อย่างชุด Farseer ของ Robin Hobb ที่เค้านิยมกันนักหนา ตัวเองก็อ่านไม่ได้
    life as it is นี่ไม่เอาจริง ๆ ค่ะ ไม่งั้นจะอ่านแฟนตาซีหลุดโลกไปทำไม
    แต่ก็ชอบแนวนี้มากกว่า sci-fi นะคะ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ เนื้อแท้ก็ไม่ต่างกันมาก
    แต่แพ้อวกาศ แพ้ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ก็เลยอ่านไม่ได้สักที TT
    อย่างไรก็ตาม ไอ้จิตใต้สำนึกชอบผู้หญิงเก่ง มีอิสระนี่ ทำให้หลัง ๆ ติด UF ค่ะ
    ไม่ต้องเป็นคนที่ถูกเลือก the chosen one ทำเพื่อศักดิ์ศรีใด ๆ
    แต่เพื่อรักษาชีวิตรอด .. ที่พ่วงมากับสันติสุขโลกเล็กน้อย :D

    มีความรู้สึกว่าหมวด YA หลายเล่มเข้มข้น และมีสาระไม่ต่างไปจากหนังสือผู้ใหญ่ค่ะ
    อย่างหลาย ๆ เล่มที่พอแปลมาก็กลายเป็นหนังสือขายดีแม้กกระทั่งในหมู่ผู้ใหญ่อย่าง Twilight
    อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งหรือเปล่าคะ .... แต่จริง ๆ ถ้าย้อนกลับไปดูตอนเราเด็ก ๆ
    การคิดและมุมมองเข้าใจเรียนรู้โลกบางอย่างก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่กันนะ หรือเปล่าหนอ
    แค่เพิ่ม coming of age เข้าไปอีกนิด

    ชอบแฟนตาซีติดหวานด้วยเหมือนกันค่ะ ไม่ต้องถึงโรแมนซ์ก็ได้ อย่างที่คุยกันวันก่อนว่าหวานให้พอชื่นใจ :D
    ฉะนั้นเวลาหยิบหนังสือมาดู อย่างน้อยก็ต้องผู้หญิงเขียนเท่านั้น เอาเรื่องที่ผู้ชายเขียนมา เจอรบ ตั้งกองทัพ การเมืองอย่างเดียวก็ไม่ไหว
    จำได้ว่าเจอ The One Kingdom ของ Sean Russell แล้วตายไปเลยสามวัน

    อ้อ อ้อ The Invisible Ring วิจารณ์ไว้ที่อื่นค่ะ
    http://mingki.blogspot.com/2006/02/book-review-invisible-ring.html
    แต่เมื่อกี้ไปอ่านใหม่ แทบจะไม่มีอะไรเลย
    กำลังคิดว่าอ่านจะเขียนเพิ่มหใม่ ถ้ามีเวลาค่ะ TT

    (ยาวจริง ๆ ด้วย)

    ReplyDelete
  6. ปล. BJ 3 ชุดแรก ชอบเล่มแรกมากสุดค่ะ
    ช่วงที่เดมอนไปเจอจาแนลล์กลาง ๆ เล่ม
    เล่มนี้เธอยังเป็นเด็กน่ารักดี
    เล่มสองสามก็ดี แต่รู้สึกแอบ snob-bitch ไปเล็กน้อย
    ไม่เลวร้าย แต่บุคลิกดู self-absorbed ไปนิด

    ReplyDelete
  7. เห็นด้วยว่าชุด Ephemera อ่อนกว่าชุดอื่นของแอนน์ (แต่อย่างว่าค่ะ เมย์อ่านอีกชุดก็ TBJ ที่เรายกให้เป็นเบอร์หนึ่งไปแล้ว) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเป็นโรแมนซ์อย่างที่คุณพูดถึงด้วย เมย์อาจพูดตลอดนะคะว่าชอบเรื่องแนวอื่น (ไม่ว่าจะเป็นแฟนตาซีหรือ UF) ที่ติดโรแมนซ์เยอะหน่อย แล้วก็เป็นคนเรื่องมาอยู่ดีตรงที่ ถ้าติดโรแมนซ์มากเกินไป ก็จะรู้สึกว่า มันขัดกันน่ะ ถ้าจะให้โรแมนซ์เยอะก็เขียนโรแมนซ์ไปเลยดีกว่า (และเราก็มีเรื่องแนวโรแมนซ์ที่ดีกว่านี้เยอะ ไม่เห็นจำเป็นต้องมาอ่านแฟนตาซีที่โรแมนซ์เยอะ ๆ ด้วย)

    เหตุผลเขียนเอง อ่านเองก็ชักจะสับสนตัวเองแล้วแหละ ขอใช้คำของคุณแล้วกันว่า ขอให้มีหวานให้ชื่นใจ แต่อย่าหวานขนาดมดเข้าแถวรอเยือน

    ชอบจุดเดียวกันกับ TBJ เรื่องแค้นนี้ต้องชำระเนี่ย ชอบมาก (นอกเหนือไปจากเรื่องของเจแนลล์และเดม่อนที่เรายกให้เป็นสิ่งที่เราชอบที่สุด ตามประสาคนอ่านที่เห็นโรแมนซ์เป็นเอก) ในบรรดาสามเล่มนี่ เราชอบเล่มสามค่ะ อันที่จริงก็ชอบเล่มหนึ่งนะ แต่คงเพราะได้ยินเสียงเล่าลือเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนใกล้จบเรื่อง ก็เลยทำให้เกิดอาการหวาดระแวงไปตลอดเวลาที่อ่าน ทำให้ไม่สมูทเท่าไหรตอนอ่าน ส่วนเล่มสองก็บีบอารมณ์เหลือเกิน จนเล่มสามนั่นแหละที่เมย์รู้สึกว่า ในที่สุดจาเนลล์ก็บรรลุตัวตนที่เธอควรจะเป็น และเป็นตัวเธอเองเสียที เราจึงรู้สึกผ่อนคลายไปกับเรื่อง เลยทำให้อ่านได้ลื่นไหลมากขึ้น

    งานของชารอนนี่อ่านกันคนละชุดค่ะ เมย์อ่านชุดแองเจลิก้า ที่เป็นเริ่มต้นดูเหมือนจะเป็นแฟนตาซี แต่อ่านไปให้ความรู้สึกเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น เมย์ยังไม่ได้อ่าน Twelve Houses เลยค่ะ ยังไงก็อ่านแน่ แต่อยู่ในคิว (อันยาวเหยียด เพราะต้องแบ่งเวลากับโรแมนซ์ที่เป็นงานประจำอีก) แต่เล่มของเธอที่เราชอบมากที่สุดกลับเป็นเล่มเดี่ยว ๆ ที่ชื่อว่า Wrapt in Crystal

    แนว UF นี่เมย์เริ่มต้นจากลอเรล เค. แฮมิลตัน (ที่แม้ตอนนี้จะรู้สึกว่าเธอออกทะเลไปหลายไมล์แล้ว แต่ก็ยังมิอาจตัดใจได้) จากนั้นก็เริ่มขยายขอบเขตไปเรื่อย ๆ แต่ข้อจำกัดของเมย์ก็เหมือนเดิมค่ะ ติดประเด็นเรื่องโรแมนซ์คาใจเสียเยอะ ทำให้ก่อนที่จะเริ่มอ่านชุดไหน ก็ต้องเช็คให้ดีหน่อย ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่แฮ็ปปี้เอ็นดิ้งไปทุกครั้งนะคะ แต่อยากให้มีสัญญาณเตือนสักนิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะได้ทำใจได้ถูก (เป็นคนขวัญอ่อนน่ะค่ะ)

    ReplyDelete
  8. อย่างไรความสัมพันธ์ระหว่างเจแนลล์และเดม่อนก็เป็นจุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งอยู่ดีล่ะค่ะ
    ชอบมาก มาก เหมือนกัน จริง ๆ ไม่ต้องชอบโรแมนซ์เป็นหลักก็หลงรักได้ง่าย ๆ นะคะ :D :D
    เป็นชุดที่แอบดิบ เถื่อนนิด ๆ แต่ก็ได้ใจคนอ่านจริง ๆ นอกเรื่องนิดนึง รู้สึกมาตลอดว่า Invisible Ring เป็น miniature ของ trilogyว่าระดับความแรงโหดน้อยกว่า รันทดน้อยกว่า แล้วก็พลังน้อยกว่า คือแค่เป็นมี red/ sapphire jewel ก็เจ๋งแล้ว แต่ถ้ามาอยู่ใน 3 นี้ ไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ก็นะคะ เล่มแรกอ่านเครียดจริง ๆ เพราะลุ้นมากว่าจะเป็นอย่างไร แล้วก็รู้สึกอึ้ง ๆ หลอน ๆ หลายฉากด้วย (อย่างเอาขาเด็กมาเป็นอาหาร หลอนมาก ๆ จริง ๆ) เล่มสอง เดม่อนไม่ออก เลยไม่ค่อยชอบ ฮ่า ๆ เกี่ยวกันไหมก็ไม่รู้ ให้ลุ้นอยู่ได้ว่าเมื่อไหร่จะออกมาจากความคลุ้มคลั่งเสียที อืม อืม หรือจริง ๆ ชอบเล่มสามด้วยเหมือนกัน ชอบเจ้าเหมียวตอนที่ออกล่าค่ะ สะใจดี ตอนที่เซอเรียลเอาหัวมาใส่หัวแบบไม่ลังเลนี่ก็ชอบมากเหมือนกัน (แอบโหดๆๆ) แต่เห็นด้วยว่าเป็นอย่างที่ควรจะเป็นเสียทีนะคะ เหมือนว่าตอนแรกเธอยังอยู่ในเขตที่เกรงใจความรู้สึกคนรอบข้างอยู่ ก็เลยทำอะไรตามใจตัวเองก็จริง แต่เป็นออกออกข้างทางไปเป็นพัก ๆ แต่เล่มสองเล่มสามรู้สึกว่าเธอโตแล้ว ดูแลตัวเองได้ระดับหนึ่งนะคะ ความรู้สึกป่วย ๆ โดยนัย child abuse ว่าคุ้มครองตัวเองไม่ได้ก็เลยขาดไปอ่านได้เรื่อย ๆ ขึ้นจริง ๆ

    ว่าแล้วเชียวว่าคุณเมย์อ่าน Samaria แนะนำไหมคะ ว่าจะอ่านหลายครั้งแล้ว แต่แอบสารภาพว่าไม่ชอบปก ก็เลยไม่ได้หยิบมาดูจริงจังสักที Wrapt in Crystal เคยเห็นนานแล้วเหมือนกัน แต่คิดว่าจะลองเอามาอ่านดูแล้วล่ะค่ะ

    ปล. ปกติถ้าไม่ใช่คิโนะแล้ว คุณเมย์มีแหล่งซื้อหนังสือดี ๆ ไหมคะ

    ReplyDelete
  9. ชุด Samaria ออกแนว Passive Action ซะเยอะค่ะ อธิบายไม่ถูกเหมือน และไม่แน่ใจว่าชารอนเธอเปลี่ยนแนวการเขียนไปไหมตอนที่เขียนชุด Twelve Houses แต่ทั้งชุด Samaria และ Wrapt in Crystal เป็นเรื่องแนวไปเรื่อย ๆ แต่ไม่น่าเบื่อนะคะ เพียงแต่มันแทบจะไม่มีจุดที่ทำให้ตื่นเต้น หรือลุ้นไปทุกวินาที เราชอบการเขียนตัวละครของเธอค่ะ มีความลึกมาก และชอบมาก ๆ กับการที่แฝงความเป็นวิทยาศาสตร์ไว้ในความเป็นแฟนตาซี (ไม่อยากเล่าน่ะค่ะ เพราะจะสปอยล์ชุดไปเลย) แล้วสุดท้ายแล้วก็สามารถอธิบายเหตุการณ์ทุกอย่างได้หมด

    ตอนอ่านเล่มแรก Archangel เรารู้สึกว่าเรื่องเอื่อยมากไปนิดนึง แต่ยิ่งได้อ่านเล่มสอง และเล่มสาม ซึ่งคลายปม (ที่ตอนอ่านเล่มแรกไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอยู่) ได้หมด เราเลยทึ่งไปกับการวางโครงเรื่องของคนแต่งมาก ๆ

    เมย์ชอบสามเล่มแรกในชุดค่ะ เพราะมันถูกเขียนโดยให้ความรู้สึกว่าวางแผนมาเป็นอย่างดี (เหมือนกับชุด TBJ) ในขณะที่เล่มอื่น ๆ ที่ตามหลังมา ดูเป็นเพียงส่วนเสริมเข้าไปเท่านั้นเอง (เช่นเดียวกับเล่มที่ตามมาใน TBJ ยกเว้น TIR นะคะ เพราะเล่มนั้นมันย้อนกลับไปในอดีตเลย จึงรู้สึกว่าไม่เกี่ยวกันกับชุด)

    เห็นด้วยกับที่ว่า TIR อ่อนกว่า TBJ แต่คงเพราะเมย์อ่านเล่มนี้ก่อนจะเริ่มต้นเรื่องของจาเนลล์ (เมย์ซื้อชุด TBJ ฉบับรวมสามเล่มไซด์เทรด หนาโคตร ๆ นอนอ่านก็ไม่ได้ ต้องนั่งอ่านอย่างเดียว เพราะหนักมาก เลยต้องขอเวลาทำใจนิดนึงก่อนเริ่มต้นอ่าน สุดท้ายเลยไปเอา TIR มาอ่านแก้ขัดไปก่อน) เมย์เลยไม่รู้สึกว่ามันอ่อนตอนที่อ่าน แต่พอมาคิดย้อนหลัง มันก็ใช่ TBJ มันแรงไปสุดตัวแล้วล่ะ

    ออกแนวโหดเหมือนกันค่ะ ชอบ TBJ เพราะความรุนแรงในเรื่องนี่แหละ โดยเฉพาะตอนฝ่ายตัวเอกเอาคืนเนี่ย ชอบมาก

    แหล่งซื้อหนังสือ ตอนนี้เป็นลูกค้าประจำอยู่ที่คิโนะค่ะ เพราะเน้นซื้อแต่หนังสือใหม่ ๆ แล้ว ไม่ได้ตามหาพวก backlist เท่าไร แต่ถ้าเป็นสมัยเริ่มอ่านหนังสือใหม่ ๆ ก็มีไปเดินโต๋เต๋แถวเจเจบ้าง (ซึ่งไม่รับประกันว่าจะได้อะไร แต่บางครั้งก็เจอของดีชนิดที่ "มันมาอยู่ที่นี่ได้ยังไง ฉันหามาทั่วเมกายังไม่เจอ แต่เมืองไทยมีได้ไงหว่า" ก็มีเหมือนกัน)

    มีร้านดาสา (คิดว่าคุณมิ้งน่าจะรู้จักอยู่แล้ว) แล้วก็ร้านเอลิต (น่าจะรู้จักเหมือนกัน)

    แต่บอกตามตรงค่ะ เวลาหาซื้อ backlist จะชอบที่สิงคโปร์ที่สุด พอดีว่าทำงานแล้วมีโอกาสได้ไปที่นั่นบ่อย เมย์ก็เลยจะซื้อจากร้านประจำที่นั่น ซึ่งเป็นร้านแห่งแรกที่ทำเอาเมย์สติแตกกระจายไปเลย เพราะหนังสือเยอะมาก และคนขายก็รู้จักหนังสือที่ตัวเองขายจริง ๆ

    ReplyDelete
  10. ต้องสารภาพเหมือนกันค่ะ ว่าอ่าน TIR ก่อน แล้วถึงได้อ่าน TBJ ตามมา ตอนนั้นรู้จัก Anne Bishop ว่าเขียนเรื่องได้โหด แล้ว TBJ ก็ค่อนข้างมืดหน่อย ๆ ก็เลยไปเอา TIR มาอ่านก่อนโดยที่ไม่รู้ว่าเป็น standalone โลกชุดเดียวกัน (ตอนที่อ่านใหม่ ๆ ยังหวั่น ๆ คิดว่าเดม่อนเป็นตัวร้ายเลย ฮือ ทำไปได้หนอ) หลังจากรู้ว่าเป็นโลกชุดเดียวกัน ก็เลยวิ่งไปเอา TBJ มาอ่านต่อ แล้วก็เป็นฉบับ omnibus ด้วย เราอ่านฉบับเดียวกันแล้วล่ะ :D เกิดมาไม่เคยอ่านหนังสืออะไรหนาขนาดนี้มาก่อนเลย ให้ความรู้สึกว่าอ่านดิคชันนารีขนาดกลางอยู่ตลอดเวลา (ซึ่งก็เพราะอ่านเล่มรวมด้วยมังคะ ที่ความรู้สึกว่าการแบ่งเล่ม 1-2-3 ไม่ค่อยชัดมาก)

    คุณเมย์ เมื่อวานนั่งเอาหนังสือเข้าชั้น เจอ undone ก็เลยนึกได้ว่าจริง ๆ ถ้าชอบตัวเอกแรง ๆ unleash power ตาต่อตาหน่อย ๆ แล้วก็แอบหวานเป็นระยะ ๆ อยากให้อ่าน undone มาก ๆ (อย่างที่บอกว่าคิดว่าลงตัวที่สุดจากราเชล เคน แล้วก็ชอบที่สุด) อยากรู้มากว่าคุณเมย์จะพูดว่าอะไร แอบยุค่า :D :D เสียอย่างเดียวเป็น cliffhanger นี่แหละ

    สุดท้าย ก็ไปจบที่คิโนะเหมือนเดิมนะคะ :D :D

    ReplyDelete
  11. นึกออกอีกอย่างค่ะ ว่าจะเขียนลงไปด้วยแล้วก็ลืม

    ที่บอกว่า TIR เป็น miniature ของ TBJ ไม่ใช่แค่ในเรื่องของระดับ jewel
    แต่ที่พูดแบบนั้นเพราะเป็น miniature ทุกเรื่องเลย
    อย่างเรื่องความรุนแรง ใน TIR มี break the witch (rape) อยู่
    แต่เทียบกับตอนอ่าน TBJ ไม่ได้เลย ทั้ง child abuse/ child rape

    จริง ๆ น่าจะเป็นเล่มแรก เป็นการเตรียมพร้อมก่อนการอ่าน TBJ นะคะ :D

    ReplyDelete