เห็นหนังสือเล่มนี้ครั้งแรกน่าจะจากเวบอเมซอน แล้วก็ก้ำกึ่งว่าจะซื้อหรือไม่ เพราะว่าชอบอารมณ์ของปก แต่พล็อตก็ดูค่อนข้างธรรมดา อย่างไรก็ตาม ตอนที่จะสั่งหนังสือ ก็เห็นว่าคิโนะสั่งเข้ามาแล้ว และที่สำคัญก็คือ หนังสือออกตั้งแต่ปลายมิถุนา 09 แต่เก็บสต็อคแล้วหาไม่เจอ พอถอดใจเลยคิดจะอ่าน อยู่ ๆ ก็เจอที่สาขาเอ็มโพเรียมตอนปลายปี ก็เลยพลิกไปพลิกมา และซื้อมาอ่านในที่สุด (ซะที)
ได้ข่าวจากคุณเมย์แห่ง Mostly Romance ว่าสำนักพิมพ์บ้านเราซื้อลิขสิทธิ์มาแล้ว
ชนิด : Urban Fantasy / Suspense/ Serial Killer/ Summoner / Demon/
Cop
ชุด : Kara Gillian, Book 1
สำนักพิมพ์ : Bantam (June 23, 2009)
จำนวนหน้า : 384 หน้า
Kara นักสืบสาวท้องถิ่นอาจจะเหมือนตำรวจธรรมดา ๆ ที่เราพบเจอตามท้องถนน หากแต่เธอมีความลับที่ไม่อาจให้ใครอยู่ได้ซ่อนอยู่ นั่นก็คือ เธอมีความสามารถในฐานะผู้เรียกปีศาจ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตคนละมิติมาทำสัญญาและใช้งานโดยมีค่าตอบแทนระหว่างกัน
หนังสือเริ่มเรื่องที่ฆาตกรต่อเนื่องผู้ถูกเรียกว่า The Symbol Man กลับมาฆ่าคนอีกคน โดยที่คนที่ถูกฆ่าไม่มีความต่อเนื่องใด ๆ เลย นอกเหนือไปจากรอยแผลละเอียดอ่อนที่เป็นแบบแผนทั่วทั้งร่างเหยื่อ และ Kara ผู้เคยติดตามคดีนี้เมื่อหลายปีก่อน ก็ได้รับมอบหมายให้สะสางคดีนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้ ก็คือ ในฐานะผู้ใช้ปีศาจที่เห็นสิ่งลี้ลับ เธอเห็นความเกี่ยวเนื่องอีกอย่างที่เหยื่อแต่ละคนมี นั่นก็คือ essence หรือพลังชีวิตที่มากเหนือกว่าคนปกติ และเหยื่อแต่ละคนก็ถูกสูบพลังเช่นนี้ไปจนหมด
เรื่องราวซับซ้อนมากขึ้น เมื่อคดีนี้เป็นที่สนใจเพิ่มขึ้นในวงกว้าง และ FBI ก็ส่ง Ryan เจ้าหน้าที่พิเศษกับคู่หูมาร่วมสืบคดี และดูเหมือนว่า เขาก็รู้และเข้าใจสิ่งที่เธอรู้เสียด้วย นอกเหนือจากนี้ ในระหว่างที่ Kara เรียกปีศาจระดับต่ำมาใช้งาน เธอกลับเรียก Rhyzkahl เจ้าแห่งปีศาจทรงพลังมาแทนที่ ซึ่งเหตุผลที่เธอทำ “พลาด” และเหตุผลที่ Rhyzkahlและเหตุผลที่ Rhyzkahl ไว้ชีวิตเธอ ก็เป็นอีกเรื่องที่กวนใจ Kara ไปพร้อมกัน
หนังสือเล่มนี้ได้รับคำชมจาก Charlaine Harris ผู้เขียนชุด Southern Vampire (ที่กลายเป็น ซีรีย์ True Blood ทาง HBO) ว่า “A nifty combination of police procedural and urban fantasy.” และนั่นก็ถือเป็นคำอธิบายหนังสือที่ดีที่สุด เล่มแรกการเปิดตัวทั้งผู้เขียน Diana Rowland และชุดหนังสือ Kara Gillian ทำได้ดีและโดดเด่นมาก ในแง่ของการวางโครงเรื่องทั้งในส่วนที่เป็นการไขปริศนาคดี และการไขปริศนาเกี่ยวกับการเรียกใช้ปีศาจ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ Rhyzkahl)
ในส่วนของการไขคดี นอกเหนือจากการวางโครงเรื่องซับซ้อนและคิดหลายชั้นแล้ว การสืบสวนตามขั้นตอนตำรวจก็ทำได้ดีและสมจริง ช่วงตรวจค้นและหาหลักฐานในที่เกิดเหตุ และช่วงชันสูตรศพพิสูจน์หาหลักฐานไม่แตกต่างจากการดูซีรีย์สืบสวนดี ๆ อย่าง CSI หรือ Bones ผ่านทางการอ่าน โดยเฉพาะช่วงที่เป็นการหาระยะเวลาเวลาการตายจากหนอนและแมลงที่มาวางไข่ผ่านนักกีฎวิทยา ซึ่งก็เพราะตัวคนเขียนเคยเป็นอดีตตำรวจมาก่อน
แรงจูงใจของฆาตกรทำได้ดี สมเหตุสมผล และตัวผู้อ่านก็รู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะการวางโครงเรื่องให้ตัวละครหลายตัวถูกโยงใยไว้ด้วยกันจากเหตุการณ์ในอดีต และเวลาบ่มเพาะความแค้นของฆาตกร ซึ่งรวมไปถึงการแฝงตัวอย่างแนบเนียนของฆาตกรด้วย(สปอยล์) [ฆาตกรที่จริงก็คือหัวหน้าของเธอ ซึ่งเป็นผู้ใช้ปีศาจที่เรียก Rhyzkahl มาเพื่อที่จะให้รักษาภริยาของตัวที่กำลังป่วย แต่ปิดฉากด้วยการที่ Rhyzkahl กลับฆ่าทุกคนในห้อง แต่เขารอดมาได้ด้วยอาการปางตาย]
ส่วนของการใช้ปีศาจวางตรรกะได้ดีระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างผู้เรียกปีศาจและปีศาจที่ถูกเรียกมา มีจุดที่รู้สึกขัดใจก็คือเหตุดึงดูดใจที่ตัว Kara มีต่อ Rhyzkahl และความสัมพันธ์ที่ดูจะเกินเลยระหว่างกัน แต่ (สปอยล์) [หนังสือก็บอกให้เรารู้ภายหลังว่า Rhyzkahl หาประโยชน์จากใช้จุดอ่อนของ Kara ที่ต้องการใครสักคนมาเพื่อล่อให้เธอทำสัญญาเป็นผู้เรียกเขาได้แต่เพียงผู้เดียว]
และเมื่อเอาทั้งสองส่วนมารวมกันก็จะกลายเป็นเหตุผลพอดี หนังสืออธิบายการฆ่าของ The Symbol Man ไว้ว่า (สปอยล์) [ฆาตกรเห็นความผิดพลาดในการเรียก Rhyzkahl มาว่าเกิดจากที่พลังที่ใช้เรียกและผูกมัดเจ้าปีศาจมีไม่พอ และเพื่อจะทำให้สำเร็จ ก็ต้องสะสมพลัง หรือ essence จากเหยื่อให้เพียงพอ การฆ่าที่หลากหลาย กินเวลา และทรมานเป็นเพื่อการทดลองว่าอย่างใดจะให้พลังดีที่สุด และการเรียกมาโดยมีพลังเพียงพอก็จะสามารถผูกมัด Rhyzkahl มาใช้งานตามใจได้ ซึ่ง Rhyzkahl ซึ่งคำอธิบายนี้ก็อธิบายเหตุการณ์ในตอนแรกด้วยว่า เหตุใด Kara จึงเรียก Rhyzkahl มาได้ ทั้งที่เจ้าตัวเองเรียกปีศาจระดับต่ำมา] และกลายเป็นหนังสือสืบสวนที่มีแนวทางของแฟนตาซีในเมืองที่สนุกและชวนอ่านมากที่สุดเล่มหนึ่ง ยกเว้นตอนจบที่ไม่แน่ใจว่าจะชอบหรือไม่ชอบอย่างไร เพราะเป็นไปได้ในเชิงแฟนตาซีในเมือง แต่เกือบไม่มีตรรกะในทางสืบสวน (สปอยล์) [Kara กึ่งตายไปแล้วจากการทำร้ายของปีศาจที่ฆาตกรเรียกมา แต่ Rhyzkahl ชุบชีวิตให้เธอ โดยไปรักษาที่มิติของเขา และพาเธอกลับมาหลังจากนั้นอีกกว่าสองอาทิตย์] ให้คะแนนที่ B+ และสรุปว่า “One of the best detective suspense with urban fantasy cause.”
หนังสือมีเล่มสองที่วางแผงแล้วตอนต้นปี 10 คือ Blood of the Demon ซึ่งต้องบอกว่าเข้มข้นสู้เล่มแรกไม่ได้ (จะรีวิวต่อเร็ว ๆ นี้) และเล่มสามที่จะออกต้นปี 11 คือ Secrets of the Demon โดยที่ระยะเวลาที่ทิ้งนานก็เพราะเปลี่ยนสำนักพิมพ์ จาก Bantum เป็น Daw เพราะเจ้าเดิมไม่คิดจะต่อสัญญา แต่ทั้งนี้ นอกจาก Secrets of the Demon แล้วก็ยังได้สัญญาคือ สองเล่มมาด้วยคือ Sins of the Demon, and Touch of the Demon
ปล. และดังนั้นก็จะต้องเปลี่ยนปกด้วย กรี๊ด แล้วจะเป็นเซ็ทเหมือนเดิมไหมคะ กรี๊ด กรี๊ด
Sunday, 23 May 2010
Friday, 21 May 2010
The Drowning City by Amanda Downum
เห็นเล่มนี้ที่คิโนะ เอ็มโพเรียม ถูกใจกับปกที่เป็นตัวเอกหน้าตาเคร่งขรึมจริงจัง และดูเหมือนจะสามารถ และพอเริ่มอ่านก็ชอบวิธีการใช้ภาษา และการใช้คำ (พูดง่าย ๆ ได้ว่าเลือกหนังสือจากปก...อีกตามเคย)
ชนิด : Semi-Urban Fantasy / Fantasy/ Magic/ Necromancer / Mage/ Politics/ Spy
ชุด : The Necromancer Chronicles, Book 1
สำนักพิมพ์ : Orbit; 1 edition (September 1, 2009)
จำนวนหน้า : 384 หน้า
เปิดฉากที่ Isyllt ผู้มีความสามารถติดต่อกับวิญญาณและคนตาย ถูกมอบหมายให้มาที่เมือง Symir ที่อยู่ข้ามทะเลออกไป เพื่อติดต่อและช่วยเหลือคนพื้นเมืองที่กำลังก่อกบฏ ด้วยจุดมุ่งหมายว่า หากจักรวรรดิต้องวุ่นวายกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้ว ก็จะทำให้ความตั้งใจรุกรานประเทศของเธอล่าช้าลงไป เมื่อเดินทางมาถึงเมือง เธอได้พบกับ Asheris ผู้ที่ทำให้เธอต้องยุ่งยากใจทั้งจากความสามารถในการใช้ไฟ ระดับสติปัญญา และจากความจริงที่ว่าเขาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเธอ
ซ้ำร้าย Xinai หนึ่งในสองนักรบรับจ้างที่เดินทางกับเธอ กลับกลายเป็นคนพื้นเมืองของ Symir ที่หนีตายจากการฆ่าล้างเผ่าเมื่อสิบกว่าปีก่อน และเมื่อได้พบกับคนต่างเผ่าที่เคยช่วยเหลือให้รอดชีวิต Xinai ก็เข้าไปผูกวนอยู่กับการล้างแค้นและปลดแอกให้กับชนพื้นเมือง จนหันหลังจากทั้ง Isyllt และ Adam นักรบรับจ้างอีกคนที่เป็นทั้งคู่หูและคนรักของตัวเอง
อีกทั้ง Zhirin ลูกศิษย์ของผู้ใช้เวทย์มนต์ที่ Isyllt รู้จัก อยู่ในสถานะทั้งคนรักของผู้นำกลุ่มก่อกบฏฝ่ายสันติ และฐานะลูกสาวของนักการเมืองทรงอำนาจที่สนับสนุนวัง
และดังนั้น เมื่อทุกฝ่ายมีความต้องการและจุดประสงค์ของตัวเอง สถานการณ์จึงตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ จนปะทุเมื่อถึงขีดสุดในช่วงหลัง และ Isyllt ก็ต้องเลือกทางที่ให้งานที่ได้รับมอบหมายมาสำเร็จลุล่วง โดยที่ยังรักษาชีวิตของเธอ และคนที่เธอเข้าไปผูกพันในเมืองให้ได้
เลือกหนังสือเล่มนี้จากปกและการใช้คำอย่างที่ได้บอกไป แต่เมื่อมาอ่านเข้าจริง ๆ รู้สึกว่าการใช้คำพรรณนากึ่งบรรยายในเรื่องใช้คำเยอะ และฟุ่มเฟือยมากไปในบางจุด และบางจุดก็ใช้สำนวนภาษาที่วกวนจนอ่านแล้วงง สิ่งเหล่านี้รวมไปถึงการเรียกชื่อเฉพาะด้วยชื่อมากกว่าหนึ่งชื่อด้วยก็ได้ ซึ่งเมื่อประกอบกับตัวละครที่มีอยู่มากแล้วก็ทำให้สับสน และงุนงงจนต้องพลิกกลับมาดูหลายครั้ง และการใส่รายละเอียด และการใช้คำก็ก้ำกึ่งอยู่ระหว่าง ซับซ้อน และ สับสน (complex กับcomplicated ได้) ซึ่งถือเป็นจุดด้อยที่สุดในหนังสือเล่มนี้ และทำลายอรรถรสในการอ่านไปบางส่วน ซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นคนเดียว (และทำลายความเชื่อมั่นในเรื่องการอ่านหนังสือและตีความส่วนตัวไปมากโข ก่อนจะพบว่ามีหลายคนที่บ่นแบบเดียวกัน) และดังนั้น การมีรายชื่อศัพท์มาให้ อาจจะช่วยได้บ้าง
.... ซึ่งจุดที่สำคัญที่สุดที่รู้สึกว่าตัวเองต้องใช้เวลาทำความเข้าใจมากเกินไปก็คือ สภาพฝ่ายกบฏ (สปอยล์) [ที่มีมากกว่าหนึ่งกลุ่ม และแบ่งเป็นฝ่ายที่รักสงบ และใช้ความรุนแรง ซึ่งกว่าจะเข้าใจก็งงไปหลายรอบ]
อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่ารายละเอียดมากมาย หลายหลากเช่นนี้ก็มาเพิ่มความสมจริง และใส่มิติให้กับตัวละครจริง ๆ (จุดแบ่งของความรก และรายละเอียดสมจริงแทบจะไม่ชัดเจนเลย และถ้าตัวคนเขียนปรับแก้ได้ เรื่องนี้ก็คงอ่านง่ายกว่านี้มาก) หนังสือมีด้านที่เป็นทั้งแฟนตาซี (การสมมติเมือง สภาพสังคม ทัศนคติ และการใช้ชีวิตต่าง ๆ การพรรณนาความ) แต่ขณะเดียวก็มีมุมที่เป็นแฟนตาซีในเมืองด้วย (วิธีการดำเนินเรื่อง ความฉับไว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกล้าได้กล้าเสีย และแนวคิดของตัวละคร) ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าเป็นสิ่งที่เพิ่มความแปลกใหม่ให้หนังสือ เพราะอยู่ระหว่างสองอย่าง และดังนั้น สามารถแก้ความซ้ำเดิมที่มีมาของหนังสือทั้งสองประเภทได้ (และก็คิดว่าสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดให้ซื้อมาก็คือการดำเนินเรื่องผสานกันเช่นนี้)
มุมมองที่มองผ่านเรื่องไม่ได้มองผ่าน Isyllt เพียงคนเดียว แต่มองผ่าน Xinai และ Zhirin ด้วย โดยการใช้บุคคลที่สามมาเป็นคนเล่าเรื่อง และตัดเรื่องผ่านตัวละครทั้งสามไปมา ทำให้นอกเหนือจากจะรู้สถานะความเป็นไปของตัวละครนั้น ๆ ในขณะนั้นแล้ว ก็ยังรู้ความคิด ความต้องการ และสถานการณ์รอบข้างด้วย ซึ่งสนุกและเร้าใจมาก เมื่อตัวละครแต่ละตัวกระทำการที่ขัดแย้งกัน ด้วยเหตุผลของแต่ละคน และก็ทำให้คนอ่านเกิดความคาดหวัง และเอาใจช่วยตาม โดยเฉพาะเมื่อตัวคนเขียนสามารถสร้างภาพของผู้หญิงสามคนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ซึ่งทำให้ทั้งนิสัย ความสามารถ ความเข้าใจต่อชีวิต ความต้องการ และสิ่งเร้าในชีวิตของแต่ละคนผิดแผกจากกันด้วย
และดังนั้นชอบการดำเนินเรื่อง ทั้งความรวดเร็ว ความเรียบง่าย และจังหวะในการตัดเรื่อง (ผ่านมุมมองของแต่ละคน) เราเห็นสภาพเมืองที่มีปัญหาภายในและรอจุดประทุขึ้นมา และก็เห็นการกระทำของตัวละครแต่ละตัวที่มีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชอบความกล้าที่จะตัดสินใจ และโลกหลายมิติที่คนเขียนสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างโลกวิญญาณและชีวิตหลังความตายที่มีอยู่ในเรื่อง (ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้เรื่องเช่นนี้มาก่อน?)
อย่างไรก็ตาม มีจุดที่ไม่น่าจะมีผลกับเรื่องแทรกเข้ามาในเรื่อง และ/หรือ อธิบายเหตุผลได้ไม่ดีพอหลายครั้ง โดยเฉพาะเรื่อง(สปอยล์) [ฆาตกรที่เป็นคนฆ่าอาจารย์ของ Zhirin ซึ่งหาแรงจูงใจที่ชัดเจนในการฆ่าไม่ได้พอ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนจุดโฟกัสให้ตัว Zhirin กลับไปอยู่ที่บ้าน และเน้นความสัมพันธ์กับแม่ของเธอ นอกเหนือจากความจริงที่อาจารย์ก็เป็นผู้ใช้เวทย์มนต์และเป็นสายลับเก่าที่ไม่น่าจะถูกฆ่าง่าย ๆ]
ช่วงที่เหตุการณ์เข้มข้นขึ้นไปถึงตอนจบคิดว่าสมจริง และเป็นจริงที่สุด แม้จะบอกไม่ได้ว่าเป็นอย่างที่อยากให้เป็นหรือไม่อย่างไร (สปอยล์) [ดังเช่น Isyllt เสียความสามารถในการใช้มือที่ถนัดไป / Adam เลือกที่จะทั้ง Xinai ไว้ที่เมืองก่อนเดินทางกลับ เพราะมองว่านี่เป็นสิ่งที่เธอเลือกแล้ว/ และ Zhirin สังเวยชีวิตตัวเองให้กับเทพแห่งแม่น้ำ เพื่อช่วยเหลือเมืองไว้เมื่อภูเขาไฟปะทุ และเมืองก็ถูกทำลายไปเกือบครึ่ง ถือเป็นโศกนาฏกรรมที่สมจริงครั้งใหญ่ จะมีก็เพียง Asheris คนเดียวที่ดูจะได้ประโยชน์ เมื่อได้กลับเป็นอิสระอีกครั้ง]
อ่านเรื่องนี้ตอนเกิดเรื่องร้าย ๆ ในบ้านเรา และก็เห็นความคล้ายคลึงที่ว่า ความบ้าคลั่ง และใจที่จ้องทำลาย แม้จากความต้องการแสดงออก และเรียกร้องสิทธิของตนไม่เป็นประโยชน์กับใคร แต่กลับเป็นอันตรายทั้งต่อตัวเอง คนรอบข้าง และสังคม ให้คะแนนหนังสือที่ B-/B และสรุปให้ว่า "darkly brilliant madness, darkly brilliant illness." ซึ่งแปลว่าพูดไม่รู้เรื่องอีกแล้ว
ปลายปีน่าจะออกเล่มสอง The Bone Palace ดูอารมณ์อีกที เพราะคะแนนหนังสือที่จะอ่านต่อได้ก็คือ B แต่จากปกแล้วน่าจะซื้อได้อยู่
ปล. ทั้งนี้ คิดว่าสภาพสังคมที่เธอสร้างขึ้นมาจากเมืองในเอเชีย (โดยเน้นที่เอเชียตะวันออก เกือบเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง) ผสมกับแนวคิดบางส่วนจากแอฟริกา (ถ้าไม่เข้าใจผิดไปเอง) ชัดเจนที่สุดที่สภาพอากาศ อาหาร (เน้นที่เครื่องเทศรสจัด และแกงกะหรี่) ภาชนะ (ไม้ไผ่ และลำไม้ไผ่) ฯลฯ โดยที่สังคมเป็นจากเอเชียตะวันออกอย่างอินเดีย และการเรียกชื่อ (โดยเฉพาะเผ่าพื้นเมือง) มีส่วนผสมระหว่างจีนและเวียดนาม ดังเช่น Cay Linn และ Cay Xian ซึ่งอย่างหลังนี้ คนเขียนเขียนแล้วเข้าใจ แต่คนอ่านต้องใช้เวลาตีความเข้าสมองอยู่ระยะหนึ่งเสมอ
ชนิด : Semi-Urban Fantasy / Fantasy/ Magic/ Necromancer / Mage/ Politics/ Spy
ชุด : The Necromancer Chronicles, Book 1
สำนักพิมพ์ : Orbit; 1 edition (September 1, 2009)
จำนวนหน้า : 384 หน้า
เปิดฉากที่ Isyllt ผู้มีความสามารถติดต่อกับวิญญาณและคนตาย ถูกมอบหมายให้มาที่เมือง Symir ที่อยู่ข้ามทะเลออกไป เพื่อติดต่อและช่วยเหลือคนพื้นเมืองที่กำลังก่อกบฏ ด้วยจุดมุ่งหมายว่า หากจักรวรรดิต้องวุ่นวายกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้ว ก็จะทำให้ความตั้งใจรุกรานประเทศของเธอล่าช้าลงไป เมื่อเดินทางมาถึงเมือง เธอได้พบกับ Asheris ผู้ที่ทำให้เธอต้องยุ่งยากใจทั้งจากความสามารถในการใช้ไฟ ระดับสติปัญญา และจากความจริงที่ว่าเขาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเธอ
ซ้ำร้าย Xinai หนึ่งในสองนักรบรับจ้างที่เดินทางกับเธอ กลับกลายเป็นคนพื้นเมืองของ Symir ที่หนีตายจากการฆ่าล้างเผ่าเมื่อสิบกว่าปีก่อน และเมื่อได้พบกับคนต่างเผ่าที่เคยช่วยเหลือให้รอดชีวิต Xinai ก็เข้าไปผูกวนอยู่กับการล้างแค้นและปลดแอกให้กับชนพื้นเมือง จนหันหลังจากทั้ง Isyllt และ Adam นักรบรับจ้างอีกคนที่เป็นทั้งคู่หูและคนรักของตัวเอง
อีกทั้ง Zhirin ลูกศิษย์ของผู้ใช้เวทย์มนต์ที่ Isyllt รู้จัก อยู่ในสถานะทั้งคนรักของผู้นำกลุ่มก่อกบฏฝ่ายสันติ และฐานะลูกสาวของนักการเมืองทรงอำนาจที่สนับสนุนวัง
และดังนั้น เมื่อทุกฝ่ายมีความต้องการและจุดประสงค์ของตัวเอง สถานการณ์จึงตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ จนปะทุเมื่อถึงขีดสุดในช่วงหลัง และ Isyllt ก็ต้องเลือกทางที่ให้งานที่ได้รับมอบหมายมาสำเร็จลุล่วง โดยที่ยังรักษาชีวิตของเธอ และคนที่เธอเข้าไปผูกพันในเมืองให้ได้
เลือกหนังสือเล่มนี้จากปกและการใช้คำอย่างที่ได้บอกไป แต่เมื่อมาอ่านเข้าจริง ๆ รู้สึกว่าการใช้คำพรรณนากึ่งบรรยายในเรื่องใช้คำเยอะ และฟุ่มเฟือยมากไปในบางจุด และบางจุดก็ใช้สำนวนภาษาที่วกวนจนอ่านแล้วงง สิ่งเหล่านี้รวมไปถึงการเรียกชื่อเฉพาะด้วยชื่อมากกว่าหนึ่งชื่อด้วยก็ได้ ซึ่งเมื่อประกอบกับตัวละครที่มีอยู่มากแล้วก็ทำให้สับสน และงุนงงจนต้องพลิกกลับมาดูหลายครั้ง และการใส่รายละเอียด และการใช้คำก็ก้ำกึ่งอยู่ระหว่าง ซับซ้อน และ สับสน (complex กับcomplicated ได้) ซึ่งถือเป็นจุดด้อยที่สุดในหนังสือเล่มนี้ และทำลายอรรถรสในการอ่านไปบางส่วน ซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นคนเดียว (และทำลายความเชื่อมั่นในเรื่องการอ่านหนังสือและตีความส่วนตัวไปมากโข ก่อนจะพบว่ามีหลายคนที่บ่นแบบเดียวกัน) และดังนั้น การมีรายชื่อศัพท์มาให้ อาจจะช่วยได้บ้าง
.... ซึ่งจุดที่สำคัญที่สุดที่รู้สึกว่าตัวเองต้องใช้เวลาทำความเข้าใจมากเกินไปก็คือ สภาพฝ่ายกบฏ (สปอยล์) [ที่มีมากกว่าหนึ่งกลุ่ม และแบ่งเป็นฝ่ายที่รักสงบ และใช้ความรุนแรง ซึ่งกว่าจะเข้าใจก็งงไปหลายรอบ]
อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่ารายละเอียดมากมาย หลายหลากเช่นนี้ก็มาเพิ่มความสมจริง และใส่มิติให้กับตัวละครจริง ๆ (จุดแบ่งของความรก และรายละเอียดสมจริงแทบจะไม่ชัดเจนเลย และถ้าตัวคนเขียนปรับแก้ได้ เรื่องนี้ก็คงอ่านง่ายกว่านี้มาก) หนังสือมีด้านที่เป็นทั้งแฟนตาซี (การสมมติเมือง สภาพสังคม ทัศนคติ และการใช้ชีวิตต่าง ๆ การพรรณนาความ) แต่ขณะเดียวก็มีมุมที่เป็นแฟนตาซีในเมืองด้วย (วิธีการดำเนินเรื่อง ความฉับไว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกล้าได้กล้าเสีย และแนวคิดของตัวละคร) ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าเป็นสิ่งที่เพิ่มความแปลกใหม่ให้หนังสือ เพราะอยู่ระหว่างสองอย่าง และดังนั้น สามารถแก้ความซ้ำเดิมที่มีมาของหนังสือทั้งสองประเภทได้ (และก็คิดว่าสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดให้ซื้อมาก็คือการดำเนินเรื่องผสานกันเช่นนี้)
มุมมองที่มองผ่านเรื่องไม่ได้มองผ่าน Isyllt เพียงคนเดียว แต่มองผ่าน Xinai และ Zhirin ด้วย โดยการใช้บุคคลที่สามมาเป็นคนเล่าเรื่อง และตัดเรื่องผ่านตัวละครทั้งสามไปมา ทำให้นอกเหนือจากจะรู้สถานะความเป็นไปของตัวละครนั้น ๆ ในขณะนั้นแล้ว ก็ยังรู้ความคิด ความต้องการ และสถานการณ์รอบข้างด้วย ซึ่งสนุกและเร้าใจมาก เมื่อตัวละครแต่ละตัวกระทำการที่ขัดแย้งกัน ด้วยเหตุผลของแต่ละคน และก็ทำให้คนอ่านเกิดความคาดหวัง และเอาใจช่วยตาม โดยเฉพาะเมื่อตัวคนเขียนสามารถสร้างภาพของผู้หญิงสามคนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ซึ่งทำให้ทั้งนิสัย ความสามารถ ความเข้าใจต่อชีวิต ความต้องการ และสิ่งเร้าในชีวิตของแต่ละคนผิดแผกจากกันด้วย
และดังนั้นชอบการดำเนินเรื่อง ทั้งความรวดเร็ว ความเรียบง่าย และจังหวะในการตัดเรื่อง (ผ่านมุมมองของแต่ละคน) เราเห็นสภาพเมืองที่มีปัญหาภายในและรอจุดประทุขึ้นมา และก็เห็นการกระทำของตัวละครแต่ละตัวที่มีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชอบความกล้าที่จะตัดสินใจ และโลกหลายมิติที่คนเขียนสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างโลกวิญญาณและชีวิตหลังความตายที่มีอยู่ในเรื่อง (ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้เรื่องเช่นนี้มาก่อน?)
อย่างไรก็ตาม มีจุดที่ไม่น่าจะมีผลกับเรื่องแทรกเข้ามาในเรื่อง และ/หรือ อธิบายเหตุผลได้ไม่ดีพอหลายครั้ง โดยเฉพาะเรื่อง(สปอยล์) [ฆาตกรที่เป็นคนฆ่าอาจารย์ของ Zhirin ซึ่งหาแรงจูงใจที่ชัดเจนในการฆ่าไม่ได้พอ นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนจุดโฟกัสให้ตัว Zhirin กลับไปอยู่ที่บ้าน และเน้นความสัมพันธ์กับแม่ของเธอ นอกเหนือจากความจริงที่อาจารย์ก็เป็นผู้ใช้เวทย์มนต์และเป็นสายลับเก่าที่ไม่น่าจะถูกฆ่าง่าย ๆ]
ช่วงที่เหตุการณ์เข้มข้นขึ้นไปถึงตอนจบคิดว่าสมจริง และเป็นจริงที่สุด แม้จะบอกไม่ได้ว่าเป็นอย่างที่อยากให้เป็นหรือไม่อย่างไร (สปอยล์) [ดังเช่น Isyllt เสียความสามารถในการใช้มือที่ถนัดไป / Adam เลือกที่จะทั้ง Xinai ไว้ที่เมืองก่อนเดินทางกลับ เพราะมองว่านี่เป็นสิ่งที่เธอเลือกแล้ว/ และ Zhirin สังเวยชีวิตตัวเองให้กับเทพแห่งแม่น้ำ เพื่อช่วยเหลือเมืองไว้เมื่อภูเขาไฟปะทุ และเมืองก็ถูกทำลายไปเกือบครึ่ง ถือเป็นโศกนาฏกรรมที่สมจริงครั้งใหญ่ จะมีก็เพียง Asheris คนเดียวที่ดูจะได้ประโยชน์ เมื่อได้กลับเป็นอิสระอีกครั้ง]
อ่านเรื่องนี้ตอนเกิดเรื่องร้าย ๆ ในบ้านเรา และก็เห็นความคล้ายคลึงที่ว่า ความบ้าคลั่ง และใจที่จ้องทำลาย แม้จากความต้องการแสดงออก และเรียกร้องสิทธิของตนไม่เป็นประโยชน์กับใคร แต่กลับเป็นอันตรายทั้งต่อตัวเอง คนรอบข้าง และสังคม ให้คะแนนหนังสือที่ B-/B และสรุปให้ว่า "darkly brilliant madness, darkly brilliant illness." ซึ่งแปลว่าพูดไม่รู้เรื่องอีกแล้ว
ปลายปีน่าจะออกเล่มสอง The Bone Palace ดูอารมณ์อีกที เพราะคะแนนหนังสือที่จะอ่านต่อได้ก็คือ B แต่จากปกแล้วน่าจะซื้อได้อยู่
ปล. ทั้งนี้ คิดว่าสภาพสังคมที่เธอสร้างขึ้นมาจากเมืองในเอเชีย (โดยเน้นที่เอเชียตะวันออก เกือบเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง) ผสมกับแนวคิดบางส่วนจากแอฟริกา (ถ้าไม่เข้าใจผิดไปเอง) ชัดเจนที่สุดที่สภาพอากาศ อาหาร (เน้นที่เครื่องเทศรสจัด และแกงกะหรี่) ภาชนะ (ไม้ไผ่ และลำไม้ไผ่) ฯลฯ โดยที่สังคมเป็นจากเอเชียตะวันออกอย่างอินเดีย และการเรียกชื่อ (โดยเฉพาะเผ่าพื้นเมือง) มีส่วนผสมระหว่างจีนและเวียดนาม ดังเช่น Cay Linn และ Cay Xian ซึ่งอย่างหลังนี้ คนเขียนเขียนแล้วเข้าใจ แต่คนอ่านต้องใช้เวลาตีความเข้าสมองอยู่ระยะหนึ่งเสมอ
Labels:
dark,
fantasy,
mage,
magic,
necromancer,
politics,
semi-urban fantasy,
spy
Subscribe to:
Posts (Atom)